และแล้วปีใหม่ก็มาถึง เรามาดูสรุปข้อมูลจากการวิเคราะห์สั้นๆ กันดีกว่า ว่าผู้ทำธุรกิจ SME ต้องเตรียมรับมือกับอะไรบ้างในปีนี้1. เศรษฐกิจยังซบเซาข้อนี้คงไม่ใช่แค่ในไทย แต่อยู่ในช่วงขาลงกันทั้งโลก เมื่อนักท่องเที่ยวลดลง ประเทศที่โดดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวอย่างไทยก็ย่อมโดนหางเลข (ยังไม่นับสถานการณ์ในประเทศที่ยังคงลุ่มๆ ดอนๆ)ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นนักท่องเที่ยวน้อยลงค่าพลังงานสูงขึ้น (น้ำ ไฟ ฯลฯ)ค่าแรงสูงขึ้นค่าเช่าสูงขึ้นค่าวัตถุดิบสูงขึ้นจะเห็นได้ชัดว่าค่าใช้จ่ายสูงขึ้นในทุกทาง แต่รายรับอาจเท่าเดิมหรือลดลง ส่งผลให้เมื่อรายจ่ายเพิ่ม แต่เราไม่สามารถขึ้นราคาได้ (เดี๋ยวลูกค้าหนีไปหาเจ้าที่ถูกกว่า) ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องเป็นคนแบกรับภาระเหล่านั้นไปนั่นเอง2. เจ้าเล็กต้องสู้กับเจ้าใหญ่เมื่อการขายในห้างไม่อาจทำเงินให้แบรนด์ดังเจ้ายักษ์ได้มากเท่ายุคก่อน เพราะการมาของแพลตฟอร์มออนไลน์ บริการ Delivery หรือแม้แต่โควิด ที่เปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้าให้อยู่ติดบ้านมากขึ้น นิยมสั่งอาหารมากินมากกว่าดั้นด้นออกไปทานถึงในห้าง ส่งผลให้ยอดขายเริ่มตก และเงินจำนวนมากไปอยู่ที่ GP กับแอปฯ Delivery แทนแบรนด์ใหญ่จึงเริ่มปรับตัวและออกมาสู้กันนอกห้างแทน ทำให้แต่เดิม สงครามนอกห้างที่เป็นของคนตัวเล็กๆ อย่างเจ้าของธุรกิจ SME และบรรดา Streetfood ต้องเจองานช้าง เมื่อแบรนด์เหล่านั้นแตกแบรนด์ลูกออกมายิบย่อยเต็มไปหมด นั่นจึงเป็น3.…
ทุกวันนี้ภาพยนตร์หนึ่งเรื่องไม่ได้สร้างรายได้จากตั๋วหนังแค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังส่งแรงกระเพื่อมไปถึงหลายอุตสาหกรรม ทั้งแฟชั่น ความงาม ค่าลิขสิทธิ์ รวมถึงวงการ ของเล่นและของสะสม
ภาพยนตร์หลายเรื่องที่ไม่ได้มีจุดขายแค่ตัวหนังเท่านั้น แต่ยังขยันออก ‘ของเล่น’ มาดูดเงินในกระเป๋าแฟนๆ กันแบบไม่หวาดไม่ไหว จะมีเรื่องไหนบ้าง มาดูกันเลยยย
Barbie
Mattel บริษัทผู้จัดจำหน่ายตุ๊กตาบาร์บี้ เผยว่ายอดขายตุ๊กตาในเดือนกรกฎา-สิงหาที่ผ่านมาพุ่งสูงถึง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว แน่นอนว่าเป็นผลจากกระแสของ Barbie Live Action ที่สร้างปรากฎการณ์สีชมพู จนเป็นไวรัลไปทั่วทั้งโลก Offline และ Online
Star Wars
หลังจากภาคต่อ The Force Awakens เข้าโรงฉาย ยอดขายของเล่นก็พุ่งสูงถึง 31.3% คิดเป็นจำนวนเงินได้ราวๆ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
Disney
ค่ายยักษ์ใหญ่ที่ถือครองแฟนไชส์ทั้ง Star Wars, Marvel และ Pixar แต่ถ้าพูดถึงภาพยนตร์เรื่องที่ไม่ว่าจะออกของเล่นคอลเลคชั่นไหนมาก็ขายดีอยู่ตลอด…
ถ้าสังเกตดูจะพบว่าหลายครั้งที่แบรนด์ “พยายาม” ทำให้สิ่งใดกลายเป็นไวรัล ไม่ว่าจะเป็นการติดแฮชแท็กหรือจ้าง Influencer มากมาย สิ่งนั้นมักจะไม่ค่อยเป็นกระแส แต่อาจได้ประโยชน์ในแง่ของการโฆษณาและช่วยเพิ่มการรับรู้ต่อสินค้ามาแทน
ในขณะที่บางครั้ง สินค้าบางชิ้นโด่งดังเป็นพลุแตก เพียงเพราะว่ามีการถกเถียงกันในโลกออนไลน์ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “มีดราม่า” จนทำให้สิ่งนั้นกลายเป็น “ไวรัล” ขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ
อย่างเช่น กรณีล่าสุดที่เกิดการถกเถียงขึ้นใน Tiktok ว่ากระเป๋า CHARLES & KEITH ถือเป็นแบรนด์หรู (Luxury) หรือไม่?
จุดเริ่มต้นเรื่องราว
เหตุเกิดจากผู้ใช้งาน Tiktok แอคเคาท์ @zohtaco ได้โพสต์คลิปวิดีโอที่คุณพ่อของเธอซื้อของขวัญให้ เป็นกระเป๋ายี่ห้อ CHARLES & KEITH ซึ่งสิ่งที่จุดประเด็นทุกอย่างขึ้นมานั้น อยู่ตรงแคปชั่นในวิดีโอที่กล่าวว่า “my first luxury bag :))”Tiktok @zohtaco : ลิงก์คลิปแม้เรื่องราวในคลิปจะเป็นเรื่องน่ายินดี…
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจคือคุณภาพของสินค้าและบริการ แต่สิ่งแรกที่จะสะท้อนตัวตนของแบรนด์ออกมาสู่สายตาของผู้คนได้ชัดเจนที่สุดก็คือ อัตลักษณ์ของแบรนด์
อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand CI) คืออะไร? : คือตัวตน ภาพลักษณ์ และความเป็นแบรนด์นั้นๆ หากให้เปรียบเป็นคนแล้วคงไม่ได้หมายถึงเพียงแค่หน้าตา แต่รวมถึงบุคลิก การแต่งกาย ลักษณะนิสัย และองค์ประกอบทุกอย่างที่รวมกันเป็นคนคนนั้น แบรนด์เองก็เช่นกัน
กว่าจะออกมาเป็นแบรนด์หนึ่งจึงมีกระบวนการสร้างมากมาย ตั้งแต่รูปแบบของโลโก้ ฟอนต์ สี รวมไปถึง Mood & Tone ที่จะนำมาใช้ เพื่อสื่อให้เห็นว่าตัวตนของแบรนด์นั้นเป็นอย่างไร กลุ่มลูกค้าเป็นใคร และต้องการขายอะไรMood & Tone
คือการใช้อารมณ์และความรู้สึกเข้ามาช่วยในการออกแบบ“Mood” คือ อารมณ์ของภาพที่แสดงออกมาให้เราเห็น ไม่ว่าจะเป็นความสงบ ความสุข ความเศร้า หรือแม้แต่ความหวาดกลัว
ศิลปะบางชิ้นสามารถสื่ออารมณ์ออกมาได้อย่างชัดเจน ผ่านการแสดงสีหน้าของบุคคลในภาพ แต่บางชิ้นอาจต้องตีความจากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นแสง สี หรือวัตถุต่างๆ
ด้วยเหตุนี้…
เคยสงสัยไหม ว่าการตลาดของร้านกาแฟแต่ละรูปแบบนั้นแตกต่างกันอย่างไร? ระหว่างร้านแฟรนไชส์ดังกับร้าน กาแฟที่เปิดเองเป็นร้าน Stand Alone ยิ่งเราอยู่ในยุคที่สามารถพบเห็นคาเฟ่ได้แทบจะทุกมุมตึก ทั้งยังมีให้เลือกดื่มได้หลายระดับราคาและคุณภาพแบบนี้ เค้าแข่งกันที่อะไรนะ?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน ‘กาแฟ’ กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แทบจะขาดไม่ได้สำหรับใครหลายๆ คน โดยเฉพาะกาแฟสดที่เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในตลาดกาแฟช่วงหลายปีให้หลังมานี้ ส่งผลให้ร้านกาแฟผุดขึ้นมามากยิ่งกว่าดอกเห็ดในหน้า แน่นอนว่าแผนการตลาดของร้านกาแฟแต่ละรูปแบบย่อมแตกต่างกันไปตามความต้องการของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
☕ ซันนี่ได้นำจุดเด่นของแผนการตลาดสำหรับร้านกาแฟแต่ละรูปแบบมารวบรวมไว้ให้แล้ว มาดูกันว่าคาเฟ่แต่ละสไตล์นั้น จะ ‘เสิร์ฟ’ ความต้องการให้แก่ลูกค้าได้อย่างไรบ้าง
ร้านกาแฟแบรนด์ดัง/แฟรนไชส์
คือร้านกาแฟที่เราสามารถซื้อสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าจากเจ้าของแบรนด์ได้โดยมีเงื่อนไขและราคาการซื้อแฟรนไชส์ที่แตกต่างกันไป พูดง่ายๆ ก็คือ เราสามารถซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟเพื่อมาเปิดสาขาภายใต้ชื่อแบรนด์นั้น โดยมีเราเป็นเจ้าของร้าน
ตัวอย่างร้านกาแฟแฟรนไชส์Starbucks Coffee
Café Amazon
Coffee World
Inthaninการตลาดร้านกาแฟแบรนด์ดังซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศนั้นย่อมแตกต่างจากร้านกาแฟที่เปิดเอง ยกตัวอย่างเช่น ‘Starbucks’ทำไม Starbucks ถึงแข็งแกร่ง?⭐เพราะสตาร์บัคส์ไม่ได้นิยามตัวเองเป็นร้านกาแฟ…
เพราะศิลปะคือธรรมชาติที่สอดแทรกอยู่ในชีวิตของเรามาอย่างยาวนาน ในยุคกรีกโบราณมีการค้นพบความไม่สมดุลแฝงอยู่ในธรรมชาติมากมาย และพวกเขาก็ให้ชื่อเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า “Phi (Φ)” หรือที่เราเรียกในปัจจุบันว่า Golden Ratio หรือ สัดส่วนทองคำ
Golden Ratio หรือ สัดส่วนทองคำ เป็นศาสตร์ที่นักออกแบบเลือกใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน พอๆ กับการใช้ “กฎสามส่วน” ในการถ่ายรูปของช่างถ่ายภาพ แต่สำหรับรูปแบบของการนำ Golden Ratio ไปใช้อาจมีความซับซ้อนกันอยู่เล็กน้อย และเพื่อให้เข้าใจคำนี้กันมากขึ้น เรามาทำความรู้จักคำๆ นี้ไปพร้อมกันค่ะ
ต้นกำเนิด Golden Ratio
Golden Ratio หรือ สัดส่วนทองคำ เป็นแนวคิดที่มีต้นกำเนิดมาแล้วกว่า 2,200 ปี จากหลักการทางคณิตศาสตร์ โดย ชายชาวกรีก ชื่อว่า Euclid (ยูคริด) ที่เป็นการนำส่วนประกอบของคณิตศาสตร์มาใช้ในการวัดมาตรส่วนและคำนวนการก่อสร้างEuclid (ยูคริด) ชายชาวกรีก ผู้ให้กำเนิดแนวคิด Golden Ratioในอีก 2000 ต่อมา ศตวรรษที่…
ในยุคที่ร้านค้าเริ่มมีการเติบโตและจำนวนเพิ่มมากขึ้น การขายสินค้าหรือการบริการต่างๆ ก็อาจจะเปรียบเทียบความแตกต่างกันได้ยาก ซึ่งนั่นก็ทำให้ลูกค้ามีปัจจัยในการเลือกซื้อที่ถูกจำกัดลง ซึ่งปัจจัยหลักนั้นก็คือ “การรู้จัก” และการที่จะทำให้ธุรกิจเข้าไปสู่จุดที่ทำให้ลูกค้าเกิดการรู้จักได้นั้น มันก็ต้องเริ่มจากการสร้าง Branding ให้ดีซะก่อน แต่! การสร้าง Branding ก็ไม่ได้มีแค่เรื่องของการทำโลโก้ การตั้งชื่อแบรนด์ การวางสินค้าหรือเน้นการบริการอะไรแค่นั้น เพราะมันหมายถึง กระบวนการที่จะทำให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักในวงกว้างด้วยลูกค้าต้องเห็นสีโลโก้แล้วจดจำเราได้ แบรนด์ต้องไม่ใช่สิ่งที่เรารู้จักอยู่คนเดียวเพราะฉะนั้น เพื่อให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักสำหรับลูกค้ามากขึ้น วันนี้เราก็มีแนวทางในการเริ่มต้นสร้างแบรนด์มาฝากกันค่ะรู้จักตัวตนของสินค้าหรือบริการตัวเองให้ชัดถ้าเรายังไม่รู้จักตัวเองดีพอ แล้วเราจะไปนำเสนอตัวตนให้ลูกค้ารู้จักเราได้ยังไง จริงมั้ยคะ? เพราะฉะนั้น เพื่อให้สินค้าหรือบริการสามารถไปต่อได้ ก่อนอื่นเราควรต้องรู้ก่อนว่าตัวเองมี “จุดเด่น” ยังไง มีสิ่งไหนที่สามารถดึงความสนใจและความต้องการของลูกค้าออกมาได้
สิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้ที่ธุรกิจควรค้นหาเลยก็คือ ข้อความหลักที่ต้องการสื่อ หรือ Key Message ที่สามารถจับต้องได้ แบรนด์จะต้องมี Personal Branding & Character Marketing…
การทำการตลาดบนออนไลน์ในทุกวันนี้ ปฏิเสธกันไม่ได้เลยว่าเรื่องของ ‘Content Marketing’ นั้นเป็นเรื่องสำคัญขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาบน Social Media บทความ Blog รีวิว หรือ อีเมล ทุกส่วนนั้นล้วนเป็น คอนเทนต์ ที่เปรียบเหมือน “สารข้อความ” รูปแบบหนึ่งที่แบรนด์ต่างใช้เพื่อส่งเรื่องราวต่างๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง สำหรับวันนี้เพื่อให้เข้าใจถึงผลลัพธ์การทำ Content Marketing มากขึ้น ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักคำๆ นี้ไปด้วยกันก่อนดีกว่าค่ะ
Content Marketing หัวใจสำคัญของการทำ Sale Funnels
จากความหมายของ Content Marketing โดย Content Marketing Institute กล่าวไว้ว่า
“Content Marketing เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการผลิตเนื้อหาหรือสื่อที่เกี่ยวข้องและมีประโยชน์ เป็นการผลิตเนื้อหาอย่างต่อเนื่องเพื่อคัดกรองและดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการมายังธุรกิจ เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด คือ การซื้อขายและการได้รับข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย”
แบรนด์ส่วนใหญ่ใช้การทำคอนเทนต์ประเภทไหน
จากสถิติข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณด้าน Content…
หนึ่งในขั้นตอนการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ ก็คือการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ หรือ Brand Identity ที่จะช่วยกำหนดภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมไปถึงวิธีการสื่อสารกับผู้บริโภคและมัดใจลูกค้าให้เกิดความจงรักภักดีกับแบรนด์
ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Brand Identity ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือ “Brand Identity Prism” นั่นเองBrand Identity Prism คืออะไร?
Brand Identity Prism คิดค้นโดย Jean-Noël Kapferer นักการตลาดและผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ระดับโลก Brand Identity Prism เป็นแนวทางในการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์อย่างละเอียด โดยมีองค์ประกอบ 6 ด้านที่ควรทำงานสอดคล้องกัน เพื่อให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว เป็นที่จดจำของผู้บริโภค และนำไปสู่การสร้าง Brand Loyalty1. Physique ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะทางกายภาพที่เห็นได้ชัด เช่น โลโก้ สี แพคเกจจิ้ง เป็นขั้นตอนแรกในการเชื่อมโยงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ที่แบรนด์ต้องตีความคุณค่าเชิงนามธรรมที่แบรนด์ยึดมั่น ให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและจับต้องได้ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าและสร้างความประทับใจ2. Personality บุคลิกภาพของแบรนด์
แบรนด์ควรมีบุคลิกภาพที่ดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และบุคลิกภาพยังช่วยให้กำหนดทิศทางการสื่อสารได้ชัดเจนขึ้น…
แม้ว่าโซเชียลมีเดียอาจเป็นช่องทางแรกในการเข้าถึงลูกค้า และเป็นช่องทางหลักที่สามารถสร้างยอดขายได้อย่างรวดเร็ว แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าลูกค้ายังคงต้องการความน่าเชื่อถือจากแบรนด์ โดยเฉพาะเมื่อมีแบรนด์ใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในโลกดิจิทัล ลูกค้าจึงมีตัวเลือกมากขึ้น และลูกค้าจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะค้นหาเว็บไซต์ของแบรนด์ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ
เว็บไซต์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการตลาดดิจิทัล ที่ธุรกิจสามารถยึดเป็นหลักได้ไม่ว่ากระแสจะเปลี่ยนไปอย่างไร หากธุรกิจของคุณยังไม่มีเว็บไซต์ ซันนี่ขอเสนอ “10 เหตุผล ที่เว็บไซต์จำเป็นต่อธุรกิจบนโลกดิจิทัลของคุณ”1. สร้างความน่าเชื่อถือ
มีการหลอกลวงบนโลกดิจิทัลเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนเกิดความกังวลใจในการสั่งซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์ และมีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อสินค้าจากร้านหรือแบรนด์ที่พิสูจน์ได้ว่ามีตัวตนจริงมากกว่า 84% ของลูกค้าให้ความเห็นว่า ธุรกิจที่มีเว็บไซต์น่าเชื่อถือมากกว่าธุรกิจที่มีเพียงแอคเคาท์โซเชียลมีเดียเท่านั้น ซึ่งทำให้เว็บไซต์ กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยยืนยันตัวตนของธุรกิจได้
นอกจากนี้ เรายังสามารถใส่ข้อมูลที่ช่วยยืนยันความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เช่น ผลการรับรอง รางวัลที่ได้รับ รีวิวจากลูกค้า บนเว็บไซต์ได้อีกด้วย2. มีผลต่อการสร้างแบรนด์
บนเพจโซเชียลมีเดีย เราไม่สามารถออกแบบ UX, UI หรือแม้แต่ประสบการณ์เฉพาะตัวที่ลูกค้าจะได้รับจากแบรนด์ แต่บนเว็บไซต์ของธุรกิจ เราสามารถออกแบบประสบการณ์ของลูกค้าให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ได้โดยละเอียด เว็บไซต์จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่แสดงข้อมูลสินค้าเท่านั้น แต่ยังสร้างความประทับใจ และสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนมาซื้อสินค้าที่ร้านด้วยตนเองได้อีกด้วย3. ทำการตลาดผ่าน SEO
การสร้างคอนเทนต์ในเว็บไซต์ ช่วยให้เราสามารถทำการตลาดผ่าน SEO ได้ ซึ่งนำไปสู่ยอดการเข้าชมแบบออร์แกนิกผ่านคีย์เวิร์ดการค้นหาบน Google และเข้าถึงลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าจริงๆ โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาเหมือนในโซเชียลมีเดีย…
หน้าที่ของแพคเกจจิ้งคือดึงดูดสายตาลูกค้าและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าของเรา แต่แพคเกจจิ้งก็เป็นสิ่งที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง จะดีกว่าไหม? ถ้าแพคเกจจิ้งของเรามีหน้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
ซันนี่พามาดูไอเดียแพคเกจจิ้งสุดเจ๋ง บางไอเดียมาจากแบรนด์ระดับโลก บางไอเดียมาจากดีไซเนอร์ที่มีความใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม หากไอเดียไหนเข้ากับสินค้าของเรา ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กันได้เลย!ที่มา : https://www.lushusa.com/extras/accessories/cork-pot/9999929435.htmlLush
แบรนด์สกินแคร์ที่ขึ้นชื่อเรื่องใส่ใจสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการคิดค้นผลิตภัณฑ์ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์และวิธีการใช้งานของผู้บริโภค Lush มักจะออกแบบแพคเกจจิ้งให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ในสินค้าบางรุ่น แบรนด์ออกแบบแพคเกจจิ้งโดยผลิตจากไม้คอร์ก สินค้าบางรุ่นไม่มีแพคเกจจิ้งเลย และสินค้าบางรุ่นที่ยังจำเป็นต้องใช้พลาสติกอยู่ Lush ก็ใช้พลาสติกรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ที่มา : https://www.trendhunter.com/trends/mug-pub-by-ivan-maximovThe Mug Pub Beer
ดีไซเนอร์ : Ivan Maximov
ไอเดียบรรจุภัณฑ์แก้วเบียร์สำหรับบาร์ Mug Pub ในกรุงมอสโก ออกแบบมาเพื่อการขายเบียร์แบบ take-away ตัวแก้วผลิตจากกระดาษ และมีลังกระดาษลูกฟูกที่พับเป็นหูหิ้ว ช่วยให้สามารถหิ้วออกจากร้านได้โดยไม่ต้องใช้ถุงพลาสติก
ดีไซน์นี้นอกจากจะใช้วัสดุย่อยสลายง่ายแล้ว ยังดูสวยงาม แข็งแรง และสามารถเพิ่มมูลค่าให้เครื่องดื่มได้ด้วย ใครถูกใจไอเดียนี้ ก็สามารถนำไปประยุกต์กับเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ หรือสินค้าอื่นๆ ได้ที่มา :…
ในอดีต “สีคลาดเคลื่อน” เป็นปัญหาน่าปวดหัวของนักออกแบบในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกราฟิกดีไซเนอร์ ที่มักจะมีปัญหาในการส่งงานให้โรงพิมพ์ พิมพ์ได้สีไม่ตรงกับที่ออกแบบ หรือสีไม่ตรงกันในการพิมพ์แต่ละรอบ แม้ว่าจะสั่งงานจากโรงพิมพ์เดียวกันก็ตาม
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 เป็นต้นมา รหัสสีของ Pantone ได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานสีสำหรับสิ่งพิมพ์ ช่วยแก้ปัญหาให้นักออกแบบ และยังช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถกำหนดค่าสีประจำแบรนด์ได้อย่างแม่นยำขึ้นอีกด้วย
Pantone หรือ PMS
Pantone Matching System (PMS) หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ “Pantone” คือมาตรฐานสีที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในหลากอุตสาหกรรม กำหนดขึ้นโดย Pantone LLC บริษัทผลิตสีอายุกว่า 70 ในสหรัฐอเมริกา
ก่อนจะมี Pantone โรงพิมพ์แต่ละแห่งใช้ชาร์ตสีของตนเองในการกำหนดค่าสี ซึ่งทำให้งานที่พิมพ์จากโรงพิมพ์แต่ละแห่งมีสีต่างกันไปตามยี่ห้อหมึกพิมพ์และค่าการผสมสี งานชิ้นเดียวกันที่พิมพ์จากต่างโรงพิมพ์จึงอาจมีสีไม่ตรงกัน การหาค่าสีมาตรฐานเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับกราฟิกดีไซเนอร์เปรียบเทียบความต่างระหว่างกระบวนการพิมพ์ด้วยระบบ PMS กับการพิมพ์ด้วยระบบ CMYK แบบดั้งเดิมระบบ CMYK ใช้กระบวนการ “Process Color” ผสมจุดสีจาก 4 สี cyan,…