Pet Parenting คือการเลี้ยงสัตว์เหมือนเลี้ยงลูกจริงๆ ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในสังคมปัจจุบัน ที่พ่อหมาแม่แมวต้องหาอาหารที่ดีที่สุด ห้องน้ำที่น้องเข้าแล้วสบายใจที่สุด ไปจนถึงที่นอน ของเล่นพรีเมียม เพื่อให้ลูกๆ สี่ขามีความสุข จนเกิดคำศัพท์ที่หลายๆ คนเรียกน้องๆ เหล่านั้นว่า ‘Fur Baby’
สาเหตุที่ทำให้เกิดเทรนด์ Pet Parenting
มาจากหลายปัจจัย ตั้งแต่ความชอบส่วนบุคคล ไปจนถึงปัญหาใหญ่ๆ ระดับโลก
- ความเป็นทาสหมา ทาสแมว หรือชื่นชอบน้องๆ ชนิดอื่นๆ
- เวลาว่างช่วงโควิดระบาดที่ไม่สามารถออกไปไหนได้
- เศรษฐกิจและสังคมที่แย่ลงจนคนไม่อยากมีลูก
- รัฐสวัสดิการไม่จูงใจให้คนอยากมีลูก
- ค่าใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงเด็กที่สูงกว่าการดูแลสัตว์เลี้ยง
- ความกังวลถึงอนาคต ซึ่งมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการใช้ชีวิต (โลกร้อน, PM 2.5)
ผลกระทบจากเทรนด์ Pet Parenting
ด้านสังคม : อัตราการเกิดต่ำ เกิดสังคมผู้สูงอายุในระยะยาว อ้างอิงจากข้อมูลประชากรไทยปี 2565 ที่มีอัตราการเกิดต่ำกว่าอัตราการเสียชีวิตและมีท่าทีว่าจะลดลงเรื่อยๆ แต่หากพิจารณาดูแล้ว เป็นเพราะปัญหามากมายบนโลกใบนี้มากกว่า ที่ทำให้คนไม่อยากมีลูกจนหันมาเลี้ยงสัตว์แทน
ด้านธุรกิจ : กระแสดังกล่าวส่งผลกระทบด้านบวกต่อธุรกิจ เช่น
- อาหารสัตว์
- เสื้อผ้าสัตว์
- สถานรับเลี้ยงสัตว์
- สถานพยาบาลสัตว์
- ประกันสัตว์เลี้ยง
- ผลิตภัณฑ์/บริการสปา อาบน้ำ ตัดขนสัตว์
สรุปข้อมูลด้านการตลาดเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
- Euromonitor คาดการณ์ว่าธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ สูงขึ้นประมาณปีละ 7.2% ในระดับโลก และ 8.4% ในประเทศไทย
- ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและอาหารสัตว์เติบโตขึ้นทั้งคู่ แต่อาหารสัตว์เติบโตขึ้นในอัตราสูงกว่าเป็นเท่าตัว
- Gen ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แทนลูกส่วนมากเป็น Gen Y 77.3% Gen Z 12% และ Gen X 10.2%
- 80% ของคนที่เลี้ยงสัตว์คือคนโสด
- กว่า 49% ของคนเลี้ยงสัตว์เป็นลูก (สาเหตุอื่น เช่น เพื่อสถานะทางสังคม, เพื่อบำบัด เป็นต้น)
- อัตราการเกิดของคนลดลง สวนทางกับอัตราการเลี้ยงสัตว์ที่พุ่งสูงขึ้น
- คนที่เลี้ยงสัตว์กว่า 40.4% เลี้ยงสุนัข, 37.1% เลี้ยงแมว และ 22.6% คือสัตว์ Exotic
- ค่าใช้จ่ายอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ เฉลี่ยอยู่ที่ 1,001 – 2,000 บาท
- บริการด้านดูแลสัตว์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคืออาบน้ำตัดขน รองลงมาคือฝากเลี้ยง สปานวด และทำเล็บ ตามลำดับ
- ค่าใช้จ่ายในการรับบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเฉลี่ยที่ 1,000 – 3,000 บาท โดยมักเลือกจากทำเลเป็นหลัก รองลงมาคือความน่าเชื่อถือ
- 43.3% เลือกรักษาสัตว์ที่คลินิกเอกชน, 41.2% ที่โรงพยาบาลสัตว์เอกชน และ 9.8% รักษาในโรงพยาบาลสัตว์รัฐบาล
สำหรับใครที่กำลังเล็งๆ อยากลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ยังนับว่าน่าสนใจอยู่ แต่จะใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดแบบไหน ซันนี่จะมาเล่าให้ฟังในครั้งหน้า อย่าลืมเข้ามาติดตามกันนะคะ 😊
ขอบคุณข้อมูลจาก