เคยไหม? อยากรู้ว่าลูกค้าคิดอะไร แต่เข้าไปนั่งในใจคนอื่นไม่ได้
Data-Driven Marketing คือวิธีที่จะทำให้เรา “เข้าใกล้” หัวใจของลูกค้ามากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง โดยวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคจากข้อมูลที่มีในมือด้วยแหล่งที่แตกต่างกัน อธิบายง่ายๆ คือการใช้พฤติกรรมในอดีตมาทำนายความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต
แหล่งข้อมูลคืออะไร ได้มาจากไหน?
เราสามารถใช้ข้อมูลได้จากทั้งช่องทาง Offline และ Online โดยหาได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า, วิธีการดำเนินงานในองค์กร, ต้นทุนที่ใช้ และอื่นๆ อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
- การเก็บข้อมูลจำนวนลูกค้าที่สมัครสมาชิกร้านค้าในเครือ เราจะไม่ได้แค่จำนวนผู้ที่สมัครเท่านั้น แต่ยังสามารถเก็บข้อมูลการสะสมแต้ม สินค้าที่ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจ และตามติดชีวิตลูกค้าได้ผ่านการใช้เมมเบอร์การ์ดได้
- เก็บข้อมูลหลังบ้านจากแพลตฟอร์มต่างๆ ในโซเชียลฯ เพื่อใช้วิเคราะห์ว่าเรายิงโดนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ แคมเปญที่ทำไปส่งผลต่อแบรนด์มากน้อยแค่ไหน
เราจะทำ Data-Driven Marketing ได้อย่างไร?
หลายคนอาจโฟกัสแค่ “ข้อมูล” ในการทำ Data-Driven Marketing แต่ที่จริงแล้วข้อมูลนั้นถูกขับเคลื่อนด้วย “คน” ดังนั้น แนวคิดของการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลคือการเตรียมพร้อมให้รอบด้าน เพื่อให้กลยุทธ์นี้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุดค่ะ
1. สร้าง Data Culture : การตัดสินใจต่างๆ โดยเฉพาะของผู้บริหาร ควรอ้างอิงตามข้อมูลมากกว่าความรู้สึก เพื่อส่งต่อ “วัฒนธรรมการให้ความสำคัญกับข้อมูล” ให้บุคลากรในองค์กรเห็น จึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงแนวคิดของทั้งองค์กรได้ในระยะยาว
2. Data Objective คือหัวใจ : ก่อนจะทำอะไรเราต้องมีเป้าหมาย เพื่อจะได้ขีดเส้นไว้และเดินตามแพลนได้อย่างเป็นระบบ โดยตั้งเป้าก่อนว่าเราจะใช้ข้อมูลไปทำอะไร หาข้อมูลไปเพื่ออะไร
ตัวอย่าง เช่น เพื่อหาลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่า, อยากลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น, สร้างแคมเปญโฆษณา, ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ และอื่นๆ อีกมากมาย
3. Data People : ต่อให้เรามีดาบคมมากแค่ไหน แต่ถ้าคนใช้ไม่เป็นมันก็เหมือนใช้ดาบทื่อใช่ไหมคะ การวิเคราะห์ข้อมูลก็เช่นเดียวกัน ที่ต่อให้ Hardware และ Software จะดีสุดๆ แต่ถ้าองค์กรไม่ได้เลือกพนักงานที่มีความสามารถเข้ามาทำงาน โดยเฉพาะในเรื่องสำคัญอย่างการ “วิเคราะห์ข้อมูล” ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำ Data-Driven Marketing แน่นอนค่ะ
4. Data Execution : อยากประสบความสำเร็จต้องลงมือทำ โดยอาจเริ่มจากเรื่องเล็กๆ และสิ่งที่น่าจะทำได้ง่ายก่อนการวิเคราะห์ข้อมูลชิ้นใหญ่ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ทีละขั้น ทั้งยังสร้างกำลังใจในการทำงานได้ดีกว่างานชิ้นใหญ่ที่ทำสำเร็จได้อยากค่ะ
ข้อดีของ Data-Driven Marketing
- ใช้เพื่อศึกษาตลาด จะได้เข้าใจและหาโอกาสทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น
- หากลุ่มเป้าหมาย และแนวโน้มของผู้ที่จะมาเป็นลูกค้าของเราในอนาคต
- ใช้เก็บข้อมูล เพื่อวัดผลทางการตลาด ว่าได้ผลดีมากแค่ไหน ได้ผลกับใครบ้าง
- รักษาลูกค้าเก่า หาลูกค้าใหม่
- ใช้ข้อมูลเพื่อหาไอเดีย
ที่น่าสนใจคือ ยุคนี้คนหันมาทำออนไลน์กันแทบจะทุกแบรนด์ การติดตามข้อมูลผ่านระบบหลังบ้านในโซเชียลและช่องทางอื่นๆ ย่อมทำได้ง่ายกว่ายุคออฟไลน์ ซึ่งหากเราใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีในมือให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ก็ย่อมขับเคลื่อนธุรกิจให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้แน่นอนค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก