Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

แฉช่องโหว่ Clubhouse ที่ควรระวัง ถ้าไม่อยากถูกละเมิดความปลอดภัยต้องอ่าน!

หลังจาก Elon Musk ได้พูดถึงแอปพลิเคชั่นน้องใหม่อย่าง Clubhouse เมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ Clubhouse กลายเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ที่กำลังมาแรงแซงโค้งสุดๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นคนดังในแวดวงต่างๆ ให้ความสนใจแล้ว ผู้คนทั่วโลกก็ต่างพากันแห่เข้ามาดาวน์โหลดแอปนี้เช่นกัน แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานบางกลุ่มได้เกิดข้อสงสัยถึง Privacy ของแอปนี้กันไม่น้อย วันนี้ซันนี่เลยจะมาแชร์ช่องโหว่ต่างๆ ที่เราควรระมัดระวังใน Clubhouse กันค่ะ

“Clubhouse” คืออะไร?

แอปพลิเคชั่นคล้ายๆ ลูกครึ่งของวิทยุสื่อสาร ที่มีรูปแบบการพุดคุยหรือสร้างพื้นที่สังคมของผู้ใช้งานทั่วโลกผ่านการใช้เสียงเป็นหลัก คล้ายกับว่าเรากำลังฟัง Podcast แบบสดๆ แต่สามารถสนทนาโต้ตอบกันได้ด้วยนั่นเอง

ช่องโหว่ที่ควรระวังของ Clubhouse

1. ขอเข้าถึงรายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์

ในช่วงการลงทะเบียนและเชิญชวนเพื่อนๆ นั้น มีการขอเข้าถึงข้อมูลรายชื่อและเบอร์โทรติดต่อที่เรามีภายในโทรศัพท์ แม้เราจะยังไม่ได้เข้าร่วมแอป แต่แอปดันล่วงรู้รายชื่อเพื่อนในโทรศัพท์ของเราว่ามีใครบ้างไปแล้วน่ะสิ

2. แอปอาจทำการบันทึกเสียงไว้

ตามข้อมูลที่ Community Guideline บอกว่าว่า.. การบันทึกเสียงนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ใช้รายงานการละเมิดความปลอดภัยในตอนที่กำลังใช้งานในห้องนั้นๆ  อยู่ แต่จะไม่มีการบันทึกเสียงจากผู้ที่ปิดไมค์ไว้ ซึ่งในการบันทึกเสียงนั้นจะเป็นหลักฐานสำคัญในการสืบสวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั่นเอง

3. เข้าร่วมฟังทีไร เด้งแจ้งเตือนเพื่อนๆ ตลอด

ตรงนี้คงไม่ถูกใจคนที่ยึดความเป็นส่วนตัวเป็นหลักแน่นอน เพราะไม่ว่าเราจะเข้าไปใช้งานห้องไหนก็ตาม เพื่อนๆ ของเราก็จะรู้หมดจากการที่แอปแจ้งเตือนว่าเรากำลังฟังเรื่องอะไรอยู่บ้างนั่นเอง โอ้โห่!! สุดยอดแอปนักแฉจริงๆ เลย

4. ข้อมูลสำคัญๆ อาจถูกส่งไป Server ของจีน

มีรายงานที่ทาง Stanford สงสัยว่าข้อมูลสำคัญๆ หรือ Metadata ใน Clubhouse นั้น ไม่ว่าจะเป็นรหัสของผู้ใช้งานหรือรหัสของห้องต่างๆ อาจถูกส่งไปเซิร์ฟเวอร์หลักที่คาดว่าเป็นของประเทศจีนก็เป็นได้ เพราะบริษัทที่เป็นผู้พัฒนาระบบโครงสร้างของแอปนี้อย่าง Agora Inc. ตั้งอยู่ในประเทศจีนนั่นเอง  

ซึ่งทาง Agora และ Clubhouse ก็ไม่นิ่งนอนใจ รีบออกมาแก้ต่างให้กับตัวเองว่า “เพื่อทำตามมาตรการคุ้มครองด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย การรับส่งข้อมูลเสียงหรือวิดีโอจากผู้ใช้งานนั้นจะไม่ถูกส่งผ่านประเทศจีนแน่นอน อีกทั้งยังมีการเพิ่มการเข้ารหัสและบล็อกเพิ่มเติมให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น และจะจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยภายนอกมาตรวจสอบการอัปเดต Clubhouse อีกด้วย”

อย่างไรก็ตาม.. แม้แอปนี้จะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของความปลอดภัยต่างๆ ที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าไหร่นัก แต่ก็ยังคงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ผู้คนทั่วโลกใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงเดือนที่ผ่านมา


ที่มา : ACIS Professional Center Co.,Ltd. และ Forbes 

 

Leave a comment