เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือน “มิถุนายน” หลายๆ คนคงจะเคยได้เห็นสัญลักษณ์ “สีรุ้ง” ที่มีให้เห็นกันอยู่ทั่วบนโลกโซเชียล หรือแม้แต่การออกมาทำกิจกรรมต่างๆ ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “เทศกาล Pride Month” ที่เหล่าผู้คนจากกลุ่ม LGBTQIA+ รวมถึงกลุ่มผู้ที่สนับสนุนหลักความคิดการเท่าเทียมทางเพศ ต่างออกมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองอิสระภาพ และสร้างทัศนคติความรู้เรื่องเพศรูปแบบใหม่ที่ไม่จำกัดแค่เพียง “ชาย” หรือ “หญิง” เพียงเท่านั้น
และเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจถึงเทศกาลนี้กันมากขึ้น ก่อนอื่นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับคนในกลุ่มนี้กันก่อนดีกว่าค่ะ
LGBTQIA+ คือใคร? มีความหมายว่าอะไร?
คือ กลุ่มคำที่ใช้เรียกคนที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเริ่มต้นจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนชาวสหรัฐอเมริกา ในปี 2531 ซึ่งแต่เดิมเราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า LGBT แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนมีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ทำให้คำจำกัดความของเพศที่เกิดขึ้นก็มีมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน
โดยแต่ละตัวอักษรก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ :
L – Lesbian หมายถึง เพศหญิงที่มีความสนใจในเพศหญิงด้วยกัน
G – Gay หมายถึง บุคคลที่ชื่นชอบผู้ทที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแบบเดียวกับตนเอง (ในสังคมมักเข้าใจว่า Gay หมายถึง ผู้ชายที่ชอบผู้ชาย แต่ในสังคมตะวันตก ผู้หญิงก็สามารถนิยามตัวเองว่า Gay ได้เหมือนกัน)
B – Bisexual หมายถึง กลุ่มที่ชอบได้ทั้ง 2 เพศ ไม่กำหนดตายตัวว่าจะชอบเฉพาะเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกัน
T – Transgender หรือ คนข้ามเพศ หมายถึง บุคคลที่แสดงอัตลักษณ์ทางเพศ ตรงข้าม หรือต่างไปจากเพศโดยกำเนิดของตนเอง ทำให้ต้องใช้กระบวนการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะผ่าตัดหรือกระตุ้นด้วยฮอร์โมน เพื่อให้เป็นเพศนั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์
Q – Queer หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่ชอบ รัก หรือเสน่หาในคนต่างเพศหรือเพศที่ตรงเพศกำเนิด นอกจากนี้ยังเป็นตัวแทนของ Questioning กลุ่มคนที่ยังไม่รู้ว่าตนเองจะเลือกอะไร แต่ก็ยังไม่ใช่ตามเพศที่กำเนิด มักมีมุมมองความรักที่มากกว่าเรื่องลักษณะกายภาพทางเพศ
I – Intersex หมายถึง หรือ ภาวะเพศกำกวม หมายถึง บุคคลที่มีสรีระทางเพศหรือโครโมโซมที่ไม่ตรงกับลักษณะชายหรือหญิง หรืออาจมีลักษณะได้ทั้งชายและหญิง
A – เป็นที่มาระหว่าง 3 ความหมาย คือ Asexual, Aromantic และ Agender
Asexual หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่รู้สึกดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น หรืออาจรู้สึกเล็กน้อย ซึ่งต้องมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น
Aromantic หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่มีแรงดึงดูดความโรแมนติกกับผู้อื่น
Agender หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่ต้องการระบุเพศว่าตนเองเป็นเพศอะไร
+ – หมายถึง สัญลักษณ์เพื่อให้ครอบคลุมว่าทุกคนมีเพศวิถีที่แตกต่างกัน ในกลุ่มคนเราล้วนมีความหลากหลายทางเพศที่ไม่อาจจำกัดได้
จุดเริ่มต้นเทศกาล Pride Month
หลายคนที่มองดูอาจจะเห็นว่าเทศกาลเฉลิมฉลองนี้มันช่างมีแต่ความสนุกสนาน เฮฮา ทุกคนต่างออกมาทำกิจกรรมที่ได้รู้สึกเป็นตัวเอง Happy กับการใช้ชีวิต
แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว จุดเริ่มต้นก่อนที่จะเป็นเทศกาลที่มีแต่สีสันแบบนี้ กลุ่มคนรักร่วมเพศพวกเขาต้องเจอกับเรื่องที่น่าขมขื่นมากขนาดไหน ..
ในช่วงเช้าของวันที่ 28 มิถุนายน 1969 ได้เกิดเหตุจลาจลครั้งใหญ่ ณ บาร์เกย์หนึ่งในโรงแรม Stonewall Inn ย่านแมนฮัตตันของนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งตำรวจก็ได้มีการใช้ความรุนแรงจนเกิดเหตุปะทะกับกลุ่มคนรักร่วมเพศเป็นเวลาหลายวัน เนื่องจากในยุคนั้น ความหลากหลายทางเพศยังไม่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนทั่วไป ทำให้พวกเขาไม่ได้รับความเคารพ ถูกกดขี่เหมือนไม่ใช่มนุษย์ปกติทั่วไป
การแต่งตัวไม่ตรงกับเพศสภาพตัวเอง = ก่อการร้าย
โดยเหตุจลาจลในครั้งนั้นก็ได้กินเวลาล่วงเลยมาเป็นหลายวัน แต่ฝั่งตำรวจเองก็ไม่มีท่าทีที่จะลดความรุนแรงเลยแม้แต่น้อย หนำซ้ำยังทำให้สถานการณ์รอบข้างมีแต่ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งนั่นก็ได้ทำให้กลุ่มคนอื่นๆ ได้ตระหนักและเห็นถึงความแตกต่างของกลุ่มคนรักร่วมเพศมากขึ้น จนทำให้เกิดองค์กรต่างๆ เช่น กลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยเกย์และกลุ่มพันธมิตรนักเคลื่อนไหวเพื่อรักร่วมเพศ ลุกขึ้นมายืนยันตัวตนของตัวเอง และเรียกร้องสิทธิจากเจ้าหน้าที่รัฐ ไปจนถึงประธานาธิบดี เพื่อขอร้องให้ยุติการเลือกปฏิบัติ และมอบสิทธิให้กับพวกเขาอย่างเท่าเทียมในสังคมในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
และหลังจากนั้นในปี 1970 ก็ได้เกิดขบวนพาเหรดของกลุ่มคนรักร่วมเพศเกิดขึ้น โดยเป็นการเดินขบวนจาก Stonewall Inn ไปยัง Central Park พร้อมกับตะโกนว่า “Say it Loud, Gay is Proud” จนกลายมาเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของการเรียกร้องสิทธิของคนรักร่วมเพศมาจนถึงทุกวันนี้
ที่มาและความหมายของ “ธงสีรุ้ง”
หลังจากที่กลุ่มเพศทางเลือกได้ถูกรับร้องสิทธิและความเท่าเทียมในการเป็นมนุษยชนโดยเท่าเทียมแล้ว Gilbert Baker เพื่อนสนิทของ Harvey Milk นักสิทธิมนุษยชนกลุ่มเพศทางเลือกที่ร่วมต่อสู่กันมาตั้งแต่ปี 1960 จึงได้ออกแบบผลงานศิลปะ “ธงสีรุ้ง” เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการ ประกาศอิสระภาพ และเป็นเสมือนเครื่องหมายหนึ่งให้กับกลุ่มคนรักร่วมเพศให้มี ความสามัคคีและเป็นหนึ่งเดียวกัน
โดยความหมายบนธงแต่ละมี ก็มีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้ :
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเทศกาลของ Pride Month ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่เดือน “มิถุนายน” นี้เพียงแค่เดือนเดียว แต่ก็ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่กลุ่มคนเพศทางเลือก LGBTQIA+ ได้จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศกันอยู่ตลอดทั้งปี
รวมถึงในไทยเราเองที่ตอนนี้ก็ได้มีการเรียกร้องการแก้ไขกฏหมาย “พรบ.คู่ชีวิต” เพื่อให้กลุ่มเพศทางเลือกได้รับสิทธิและการปฏิบัติต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรม ซึ่งเราก็หวังว่าพลังขับเคลื่อนในครั้งนี้จะส่งผลให้ได้รับความเท่าเทียมร่วมกันในไม่ช้า