Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Digital Transformation Stategy : พัฒนาองค์กรอย่างไร ให้ก้าวทันยุคดิจิทัล

Digital Transformation Stategy พัฒนาองค์กร

Digital Transformation คืออะไร?

คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจในทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะทั้งการทำงานในองค์กรไปจนถึงการบริการลูกค้า

เห็นได้ชัดจากช่วง 10 ถึง 20 ปีก่อน ที่โลกเราเริ่มเปลี่ยนจากยุคอนาล็อกมาสู่ยุคดิจิทัล แต่ในปัจจุบันหลายบริษัทก็ยังต้องปรับตัวอยู่เสมอ โดยใช้กลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ มากมาย ดังที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้

 

1. Strategic Alignment

คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงยุทธ์ พูดง่ายๆ หรือการพัฒนาองค์กรโดยให้ความสำคัญกับ “บุคคล” ซึ่งฝ่ายที่จะเข้ามาจัดการงานตรงนี้ได้นั้น คือผู้บริหารและฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) นั่นเอง

การพัฒนาบุคลากรในบริษัทด้วยวิธี Digital Transformation สามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ได้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น

  • ประเมิน KPI (วัดผลสำเร็จของงาน) โดยใช้โปรแกรมช่วยวิเคราะห์
  • สนับสนุนการใช้โปรแกรมที่ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น
  • ลดการใช้กระดาษ ด้วยการใช้ไฟล์
  • ฝ่าย HR ควรมีส่วนในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร มากกว่าการมุ่งเน้นเรื่องกฎระเบียบเพียงอย่างเดียว
 
2. Cultural Adjustment

คือการแทรกซึมความเป็นดิจิทัลเข้ามาในองค์กร ด้วยการวางรากฐานและสร้างความเคยชิน เพื่อให้ทั้งองค์กร, บุคคลกร และผู้บริโภค พร้อมที่จะปรับตัวเข้าสู่โลกยุคใหม่ได้ เช่น

  • ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการทำงานร่วมกัน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว
  • ทำงานได้จากทุกที่ (Work From Anywhere) ด้วยโลกออนไลน์
  • ทำให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ที่ดี จากการใช้บริการออนไลน์

ในด้านการทำงานจากทุกที่ (Remote Work) นั้น มีผลดีคือ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น, ลดเวลาในการเดินทาง และด้านอื่นอีกมากมาย

แต่ก็ต้องปรับใช้ร่วมกับข้อแรก (Strategic Alignment) กล่าวคือ ต้องทำให้การทำงานได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการมาทำงานที่บริษัท โดยอาจใช้การประเมิน และการวัดผลสำเร็จของงานเป็นตัวชี้วัด

 
3. Systems Analysis and Alignment

การเข้าใจระบบทั้งหมดในการทำงาน จะทำให้สามารถมองเห็นภาพรวม และเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ได้ ว่าจะปรับส่วนใดให้เข้ากับความเป็นดิจิทัลได้บ้าง เช่น

  • รูปแบบการทำงาน เปลี่ยนจากการเข้าบริษัทเป็นการทำงานออนไลน์
  • ลดการใช้กระดาษ และส่งงานบนแพลตฟอร์มออนไลน์แทน
  • ส่งเสริมการเรียนคอร์สออนไลน์แก่บุคลากร ในเรื่องที่เกี่ยวกับเนื้องาน แทนการไปอบรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
 
4. Building a Technology Roadmap

“การวางแผน” จะช่วยให้การทำงานและการพัฒนาองค์กรเป็นไปได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งทำให้มองเห็นข้อผิดพลาดได้ง่าย ช่วยให้แก้ไขได้ทันเวลา โดยอาจกำหนดหัวข้อไว้คร่าวๆ เช่น

  • จุดมุ่งหมายหลักขององค์กรคืออะไร
  • เป้าหมายของ “การพัฒนา” องค์กรคืออะไร
  • กำหนดงบประมาณเบื้องต้นเอาไว้
  • กำหนดระยะเวลาทีคาดหมายว่าจะใช้
 
5. Begin Incrementally

ดำเนินการตามแผน (Road Map) ที่ได้วางไว้ โดยค่อยๆ ทำไปทีละข้อโดยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา ไม่ว่าจะการวางรากฐานเพื่อสร้างวัฒนธรรม หรือการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยปรับเปลี่ยนไปทีละอย่าง เช่น

  • แก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนที่วางไว้
  • อย่าตึงเกินไป มีความยืดหยุ่นและปรับแผนไปตามสถานการณ์
  • มองการณ์ไกล ไม่หยุดอยู่แค่สิ่งที่ตั้งเป้าเอาไว้ในตอนแรก
  • ลงมือทำตั้งแต่วันนี้
 
6. Implement and Partner

เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจถึงเวลาต้องหาตัวช่วย ด้วยการหาพาร์ทเนอร์ที่เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ มาทำให้แผนงานของเราดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจใช้หลักเกณฑ์เหล่านี้ในการคัดเลือก เพื่อหาตัวช่วยที่เหมาะสมกับการพัฒนาองค์กร เช่น

  • ดูจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
  • วิสัยทัศน์และวัฒนธรรมการทำงาน เข้ากับองค์กรของเราหรือไม่
  • ตอบโจทย์และเติมเต็มในสิ่งที่เราต้องการได้จริงหรือไม่
  • จะช่วยพัฒนาองค์กรของเราได้มากน้อยแค่ไหน
 
7. Iterate and Refine

วิเคราะห์และตกตะกอนทุกขั้นตอนที่ได้ลองทำ ว่ามีสิ่งใดเหมาะสม ทำแล้วได้ผลดี และสิ่งใดควรต้องหยุด เพราะอาจไม่ใช่ทุกแผนที่วางเอาไว้จะสามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีในตอนนี้อาจไม่เหมาะกับการทำงานของเราในอีก 5 ปีข้างหน้า

เท่ากับว่า เราอาจต้องนำขั้นตอนตั้งแต่ข้อแรกมาใช้ซ้ำๆ โดยคงไว้ซึ่งขั้นตอน แต่ปรับเป้าหมายและบางวิธีการให้เป็นไปตามยุคสมัย เพราะไม่มีทางที่โลกจะหยุดพัฒนา เช่นเดียวกับองค์กรของเรา

 


 

ยี่สิบปีก่อนคำว่า “โลกดิจิทัล” อาจฟังดูห่างไกล ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์, การทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การใช้สมาร์ทโฟนก็ดูเป็นอะไรที่คนในยุคนั้นอาจจะนึกภาพไม่ออก (ซึ่งนั่นก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ Y2K เช่นกันค่ะ)

นั่นจึงเป็นหมุดหมายที่ทำให้เราต้องพึงระลึกเอาไว้อยู่เสมอ ว่าการเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการทำงานของเรา

ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะผู้บริหาร, ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล หรือแม้แต่ตัวพนักงานเอง จึงต้องพร้อมเรียนรู้และปรับตัวตลอดเวลา เพื่อพัฒนาให้ตนเองและองค์กรเติบโตขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Leave a comment