ในยุคออนไลน์ ที่ไม่ว่าอะไรก็เป็น “คอนเทนต์” เราจะสร้างคอนเทนต์อย่างไร ให้ได้ผลทางการตลาด และช่วยพัฒนาแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ก่อนจะทำการสร้างคอนเทนต์ เราจะต้องหากลุ่มเป้าหมายของเรา และจุดประสงค์ของแบรนด์ให้เจอก่อน
จำกัดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างคอนเทนต์ให้ตรงโจทย์
เราต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าของเราคือใคร ต้องการอะไร จำเป็นต้องใช้หรือจะสนใจข้อมูลแบบไหน และมีอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ เพื่อที่เราจะได้วิเคราะห์หมวดหมู่ของลูกค้าได้ ว่ากลุ่มใด เหมาะกับคอนเทนต์แบบไหน ดังนี้
Brand Awareness : สำหรับกลุ่มที่เพิ่งเริ่มรู้จักเรา เป็นการสร้างความตระหนักรู้ ให้คนได้เข้าใจว่าแบรนด์ของเรามีสินค้าและบริการเกี่ยวกับเรื่องใด โดยอาจสร้างเป็น Community ขึ้นมา เช่น แบรนด์ที่ขายน้ำผลไม้ ก็ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับคนที่ใส่ใจสุขภาพ เป็นต้น
Consideration : สำหรับกลุ่มที่กำลังหาข้อมูลเพื่อพิจารณาการซื้อสินค้า เช่น ลูกค้าคนหนึ่งที่กำลังตัดสินใจว่าจะซื้อเก้าอี้เพื่อสุขภาพดีไหม คอนเทนต์ Considerationจะเป็นการนำเสนอว่าเก้าอี้ดีอย่างไร ทำไมต้องซื้อ เป็นการพูดถึงประโยชน์ และชี้นำให้คนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
Purchase : สำหรับกลุ่มที่เป็นลูกค้าของแบรนด์ คนกลุ่มนี้คือกลุ่มที่สนใจในสินค้าและบริการของเราอยู่แล้ว คอนเทนต์จึงเป็นการนำเสนอบริการหลังการขาย หรือสินค้าใหม่ๆ ที่น่าจะอยู่ในความสนใจ แทนคอนเทนต์ให้สร้างการรับรู
Retention : กลุ่มลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำ คนกลุ่มนี้จะเริ่มมี Brand Loyalty เพราะมีการซื้อสินค้าซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นอีกลุ่มที่แบรนด์ไม่ควรละเลย การทำคอนเทนต์แนว Personalized ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเรากำลังสื่อสารกับเขาโดยตรงอย่างใส่ใจ ก็ช่วยสร้างความประทับใจได้ดีเช่นกัน
หา Position ของแบรนด์
ถึงแม้จะหากลุ่มเป้าหมายได้เจอแล้ว การหาตำแหน่ง (Position) ของแบรนด์ก็สำคัญ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราอยู่ตรงไหนในตลาด โดยอาจพิจารณาจากภาพรวมและเรื่องราวของแบรนด์เรา เพื่อที่จะได้สร้างคอนเทนต์ที่นอกจากจะตอบโจทย์ต่อกลุ่มเป้าหมาย ก็ยังสามารถสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ของเราได้ดี
แบรนด์สามารถหา Position ของตัวเองได้โดยตั้งเป้าทางการตลาด ว่าสิ่งที่แบรนด์ต้องการมากที่สุดในขณะนี้คืออะไร เช่น แบรนด์ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก จึงต้องการสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ ต้องการเพิ่มยอดผู้ติดตามเพจ, เพิ่มยอดวิว เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เข้ามา คอนเทนต์ที่ควรให้ความสำคัญที่สุดจึงเป็น Awareness Content เป็นต้น
เมื่อทำการวิเคราะห์ทุกอย่างแล้ว สิ่งต่อไปที่ควรทำจึงเป็นการวางแผนงาน ว่าเราจะสร้างคอนเทนต์แบบไหน โพสต์ที่แพลตฟอร์มใด ลงโพสต์เมื่อไหร่ เพื่อจะได้เห็นภาพรวมและทำงานได้อย่างเป็นระบบ
เมื่อทำทุกอย่างที่ได้กล่าวมาครบเรียบร้อยแล้ว ต่อไปคือ ศึกษากลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ โดยซันนี่จะยกตัวอย่างมาให้ทั้งหมด 5 กลยุทธ์ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ และสามารถนำไปปรับใช้ได้ง่ายๆ กับแบรนด์ของคุณ
1. หัวข้อเก่า อย่าทิ้ง
เรื่องเก่าๆ อาจไม่ได้ไร้ประโยชน์เสมอไป บางเรื่องราวถ้าถูกนำมาปัดฝุ่น อัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมก็อาจสร้างประโยชน์ได้มาก แต่ถ้าจะให้รีรันคอนเทนต์เก่าทั้งหมดก็อาจจะยากและดูน่าเบื่อใช่ไหมล่ะคะ
เราสามารถคัดกรองเนื้อหาที่น่าสนใจได้โดยเช็คระบบหลังบ้านผ่าน Google Analytics ว่าคอนเทนต์ไหนที่ยอด Engage ดี จากนั้นให้นำเนื้อหาเหล่านั้นมาเล่าใหม่ พร้อมกับอัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปให้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อเว็บไซต์ เพราะช่วยเรื่อง SEO ได้โดยตรงอีกด้วย
2. ใครว่าคนขี้เกียจอ่านคอนเทนต์ยาวๆ
คอนเทนต์สั้นอาจดึงดูดคนได้ดี แต่คอนเทนต์ยาวที่ให้ข้อมูลความรู้ได้ “ลึก” ก็สามารถดึงคนให้อ่านได้ “นาน” กว่า ซึ่งส่งผลต่อ SEO โดยตรง เมื่อระบบของเว็บ Search Engine เหล่านั้นประมวลผลออกมาว่า มีคนใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์ของเราเป็นระยะเวลานาน ไม่ใช่แค่เผลอเข้ามาแล้วกดออก
3. คอนเทนต์เฉพาะกลุ่ม
การทำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจงสำหรับคนบางกลุ่ม อาจจะฟังดูเหมือนจะได้ยอด Engage จำนวนน้อย แต่การจำกัดกลุ่มคนลงมา เราจะได้คนที่สนใจในเนื้อหาของเราจริงๆ อาจเกิดการสื่อสารระหว่างกันได้มากกว่า และอาจขยายฐานกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ
4. ออกแบบคอนเทนต์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า เรากำลังคุยกับเขาโดยตรง
การทำคอนเทนต์แบบ Personalized อาจทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกประทับใจที่ได้รับความใส่ใจจากแบรนด์ ผู้ซึ่งเป็นลูกค้าเก่าก็อาจจะย้อนกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ก็อาจจะดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เข้ามาได้อีกด้วย
5. ปรับตัวให้ทันยุค โดยการใช้ Voice Search
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันคนเราติดความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี การสั่งงานด้วยเสียงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวัน เราในฐานะแบรนด์จึงไม่ควรมองข้ามฟังก์ชั่นเหล่านี้
การสร้างคอนเทนต์ให้เป็นมิตรกับ Voice Search นั้นทำได้ไม่ยาก โดยการปรับหัวข้อให้เป็นภาษาพูดมากขึ้น นั่นอาจทำให้เราได้เปรียบเมื่อมีคนใช้การสั่งงานด้วยเสียงค้นหาคอนเทนต์ใน Search Engine เพราะจะทำให้เว็บไซต์ของเรา ขึ้นมาเป็นลำดับแรกๆ นั่นเองค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก