หลังการแพร่ระบาดของไวรัสไควิด 19 โลกการตลาดก็ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป พฤติกรรม “ช้อปปิ้งออนไลน์” ไม่ได้เป็นเพียงกระแสสั้นๆ ที่เกิดขึ้นและจบลงพร้อมกับการระบาด แต่จะคงอยู่ต่อไปและกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริโภคในอนาคต
เมื่อการเปลี่ยนแปลงที่ควรจะกินเวลายาวนานร่วมทศวรรษ กลับเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนพฤติกรรมเกือบทั้งหมดของผู้บริโภคทั่วโลกภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี นักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ จึงต้องไหวตัวให้ทัน คาดการณ์อนาคตให้แม่นยำ และเตรียมพร้อมรับมืออย่างรวดเร็ว
ซันนี่รวบรวม “กลยุทธ์ 6R แนวคิดเพื่อทางรอดของธุรกิจในยุคดิจิทัล” จากรายงานของ Facebook : SYNC southeast asia report 2021 เพื่อเป็นแนวทางให้แบรนด์ต่างๆ ปรับตัวรับมือกับวิถี New Normal ที่กำลังจะมาถึง
1. Rewrite a Digital-First Agenda
2 ปีของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้ผู้บริโภคเคยชินกับการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และพฤติกรรมนี้จะคงอยู่ต่อไปในอนาคต เนื่องจากผู้บริโภคพบข้อดีจากการซื้อสินค้าทางออนไลน์มากมาย
สาเหตุที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป
1. การปรับตัวรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส
2. ประหยัดเวลากว่า
3. โปรโมชั่นที่มากกว่า
4. เปรียบเทียบราคาได้ง่าย
5. สั่งสินค้าได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
แบรนด์จึงต้องปรับกลยุทธ์การขาย โดยคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคบนโลกดิจิทัลเป็นหลัก (Digital-Centric)
2. Rewire Your Business Model
แผนธุรกิจเดิมอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป แบรนด์จำเป็นต้องปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และร่างแผนธุรกิจใหม่ตลอดเวลา
10 คำถามเพื่อเป็นแนวทางในการปรับแผนธุรกิจ
– สถานการณ์รอบด้านจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? คาดการณ์ล่วงหน้าว่าอนาคตอุตสาหกรรมที่เราอยู่ จะเดินทางไปในทิศทางไหน
– พฤติกรรมใหม่ๆใดบ้างของผู้บริโภค ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมที่เราอยู่? ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าที่เราผลิต หรือแม้กระทั่งไม่ต้องการสินค้าที่เราผลิตอีกต่อไปแล้ว
– ใครที่สามารถเป็นคู่แข่งเราได้ในอนาคต? อาจเป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรืออาจเป็นธุรกิจจากอุตสาหกรรมอื่น แต่สามารถส่งผลให้กำไรของเราลดลงได้
– แผนการตลาดที่วางไว้มีโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดดหรือไม่?
รูปแบบการทำธุรกิจในโลกดิจิตอลเอื้ออำนวยให้เกิดการเติบโตแบบก้าวกระโดด ธุรกิจของเราสามารถเติบโตแบบนั้นได้หรือไม่
– ระบบและขั้นตอนการดำเนินงานของเรามีความยืดหยุ่นพอหรือไม่ หากต้องปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงในอนาคต? หากองค์กรของเรามีความยืดหยุ่น ก็จะสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ดีกว่า
– องค์กรของเรามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจโลกในอนาคตหรือไม่? เช่น ทักษะทางด้าน Data ทักษะการใช้งาน A.I. เป็นต้น
– มีปัจจัยภายนอกใดบ้างที่อาจส่งผลกับการดำเนินงานในธุรกิจ หรือในอุตสาหกรรมของเรา? เช่น การออกกฏหมายใหม่ หรือทิศทางเศรษฐกิจโลก เป็นต้น
– มีองค์กรใดบ้างที่เราควรเป็นพันธมิตรด้วย เพื่อช่วยลดสินทรัพย์ให้ธุรกิจ (Asset-Lite) ทำให้ธุรกิจเรามีความเบา และเติบโตได้อย่างคล่องตัวที่สุด? เนื่องจากองค์กรที่มีความเบา (Lean) มีภาระค่าใช้จ่ายน้อย จะเติบโตได้ง่ายกว่า มีความยืดหยุ่นภายใต้วิกฤติมากกว่า
– Data, Automation และ Machine Learning สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจของเราได้อย่างไรบ้าง?
– ในอนาคต ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น องค์กรของเราจะได้รับผลกระทบหรือไม่? หากคำตอบคือได้รับผลกระทบ ก็ถึงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานให้เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งเวดล้อมมากขึ้นแล้ว
3. Reimagine Consumer Engagement
เมื่อสินค้าทุกชนิดอยู่บนโลกดิจิทัล ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าได้ง่าย และเปลี่ยนแบรนด์ที่ชื่นชอบได้อย่างรวดเร็ว หากต้องการรักษา Brand Loyalty เอาไว้ แบรนด์จำเป็นต้องทำให้ Customer Journey ระหว่างแพลตฟอร์มเป็นไปอย่างไร้รอยต่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคทุกขั้นตอนตั้งแต่การค้นหาสินค้า ไปจนถึงการชำระเงินและจัดส่งสินค้า
4. Refresh Product Offerings
เมื่อผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาและคุณสมบัติสินค้าจากแบรนด์ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ก็จะเริ่มมองหาสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของตัวเองได้ดีที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว ทันใจ
แบรนด์จึงต้องทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง (Personalize Marketing)
- ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว
- ในขณะเดียวกันก็ยังต้องรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ และตำแหน่งทางการตลาด ให้ยังดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
5. Re-Envision the Role of Sustainability
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรง ทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงจับตามองการดำเนินงานของแบรนด์ต่างๆ สนับสนุนแบรนด์ที่สร้างประโยชน์ให้สังคม และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
แบรนด์จึงต้องปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้บริโภค โดยการปรับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมต้นทุนไม่ให้สูงขึ้น จนกระทบกับผลกำไรมากเกินไป
6. Realign to the Post-Pandamic Hybrid Lifestyle
หลังการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 จบลง แม้ว่าผู้คนจะต้องกลับไปใช้ชีวิตตามปกติบ้าง เช่นกลับไปทำงาน หรือทานข้าวนอกบ้าน
แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะยังเคยชินกับพฤติกรรมการทำงานที่บ้าน สั่งซื้อสินค้าที่บ้าน โดยเฉพาะผู้บริโภคในแถบเอเชียที่ต้องเผชิญกับปัญหาการจราจร วิถีชีวิตรูปแบบใหม่จึงกลายเป็น Home-Centric Lifestyle
แบรนด์จึงต้องออกแบบ Customer Journey โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายเป็นหลัก อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคสามารถค้นหาสินค้า สั่งซื้อ ไปจนถึงให้คะแนนสินค้า โดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน
แม้ว่าวิกฤตโควิด 19 จะเป็นอุปสรรคสำหรับหลายๆ ธุรกิจ แต่ก็ยังสร้างโอกาสการเติบโตแบบก้าวกระโดดให้ธุรกิจดิจิทัลด้วย ธุรกิจที่ปรับตัวได้รวดเร็วเท่านั้น ที่จะสามารถคว้าโอกาสและเติบโตไปกับโลกยุคดิจิทัล หากเรามีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ธุรกิจของเราก็จะเป็นหนึ่งในธุรกิจเหล่านั้น ที่สามารถสร้างโอกาสจากวิกฤติครั้งนี้
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :
- https://web.facebook.com/, Southeast Asia, The Home For Digital Transformation
- ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ > https://bit.ly/3noYWHU