Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Fandom Marketing ส่องอาณาจักร บุกโลกของแฟนคลับ

Fandom คืออะไร

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘แฟนด้อม’ แต่ไม่รู้ความหมาย ที่จริงแล้วคำว่า Fandom มาจาก Fanclub + Kingdom หากแปลตรงตัวจะมีความหมายว่า อาณาจักรของแฟนคลับ สรุปแล้ว แฟนด้อม คือ การรวมตัวกันของกลุ่มแฟนคลับ ที่มีความชื่นชอบและสนใจในสิ่งเดียวกันค่ะ

Fandom ใช้กับอะไรได้บ้าง

เราอาจคุ้นเคยและเห็นการใช้คำนี้บ่อยกับแฟนคลับของดารา ศิลปิน โดยเฉพาะนักร้องที่เป็นวง Boy Band หรือ Girl Group แต่อันที่จริงแล้ว กลุ่มคนที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน และมาแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือพูดคุยกันจนเกิดเป็น Community ขึ้นมานั้นมีอยู่หลายวงการมากๆ ไม่ว่าจะภาพยนตร์ ซีรี่ส์ การ์ตูน เกม กีฬา และอื่นๆ อีกมากมาย

Fandom Marketing คืออะไร

คือการตลาดที่นำมาใช้กับกลุ่มแฟนคลับโดยเฉพาะ ซึ่งเราเองก็อาจเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง ตัวอย่างเช่น

 

Photocard :

การ์ดรูปถ่ายศิลปิน/ไอดอล ที่มักใส่มาเป็นของแถมในอัลบั้ม เหตุที่โฟโต้การ์ดเพิ่มมูลค่าให้กับอัลบั้มเพลงได้อย่างมหาศาลมีหลายปัจจัย เช่น

  • การได้การ์ดเมน (คนที่เราชอบที่สุดในวง) เป็นเรื่องยาก เพราะมันคือการสุ่มกาชาดีๆ นี่เอง ลองคิดดูว่าวงที่มี 7 คน เราต้องซื้อกี่อัลบั้มกว่าจะเจอการ์ดเมน (ถ้าดวงไม่เฮงจริง)
  • Photocard คือของสะสมล้ำค่า จนถึงขั้นที่บางคนให้ความสำคัญกับการ์ดมากกว่าเพลงและอัลบั้มจริงๆ เสียอีก

 

Top Spender Marketing :

คือการให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ที่มียอดการใช้จ่ายสูงสุด เช่น สิทธิในการเข้า Meet & Greet กับนักแสดงที่ชอบ สามารถอ่านบทความเรื่องนี้ได้ที่นี่เลยค่ะ : Top Spender การตลาดแบบยิ่งจ่ายยิ่งได้สิทธิกรี๊ด

 

Brand Ambassador/Presenter

การมีแบรนด์มาจ้างศิลปินที่เราชอบเพื่อเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์หรือพรีเซนเตอร์โฆษณา ย่อมทำให้แฟนคลับเกิดความรู้สึกดีต่อแบรนด์ดังกล่าว เพราะความรักของแฟนคลับ มักมาควบคู่กับการสนับสนุนคนที่พวกเขารัก เมื่อมีแบรนด์มองเห็นและให้โอกาสศิลปินของเรา แฟนคลับก็ย่อมอยากสนับสนุนแบรนด์นั้นๆ เป็นธรรมดา

แต่สิ่งที่เจ้าของแบรนด์ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจจ้าง คือการดูภาพลักษณ์และความเหมาะสม ว่าแบรนด์ สินค้า และตัวศิลปิน ว่าเข้ากันหรือไม่ กลุ่มแฟนคลับคือกลุ่มเป้าหมายของเราใช่ไหม และหากตัดสินใจจ้างมาแล้ว การปฏิบัติกับศิลปินด้วยการให้เกียรติ (Treat ให้ดี) จะยิ่งได้ใจแฟนคลับ จนกลายมาเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ได้เลยล่ะค่ะ

 

Tie-In :

การไทอินสินค้าในซีรี่ส์, หนัง, ฉากต่างๆ ใน MV หรือแม้แต่ในคลิปต่างๆ ของ Youtuber ทั้งแบบเนียนและจงใจขาย ย่อมผ่านตาแฟนคลับที่กำลังดูอยู่ และทำให้ไปซื้อตามในที่สุด 

บางกรณีชาวด้อมเองก็ดีใจด้วยซ้ำ ที่ยูทูปเบอร์ที่เราชื่นชอบมีสปอนเซอร์มาจ้าง เข้าช่องเยอะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการขายที่จริงใจ ขายให้รู้เลยว่าขาย ถ้าของดีจริงยังไงก็ได้ใจคนดู ซื้อตามหนึ่งครั้ง ซื้อซ้ำแน่นอน 😉

ข้อดีของ Fandom Marketing 

อย่าดูถูกพลังแฟนคลับ! เมื่อใจเรารักใคร ก็ย่อมอยากทำสิ่งดีๆ เพื่อคนคนนั้นใช่มั้ยคะ หลายๆ ครั้งเราจะเห็นแฟนคลับรวมเงินและรวมตัวกันเพื่อทำอะไรบางอย่างในนามของศิลปินที่ชอบ เช่น สร้างห้องสมุดในโรงเรียนทุรกันดาร, ทำกิจกรรมที่บ้านพักคนชรา หรือบริจาคเงินเพื่อมูลนิธิต่างๆ

  • กลุ่มแฟนคลับมี Loyalty สูงต่อสิ่งที่ชอบ หากเราดึงแฟนคลับมาเป็นลูกค้าของเราได้ ก็เท่ากับว่าเราได้ลูกค้าที่ Brand Loyalty สูงมาด้วยนั่นเองค่ะ
  • เพิ่มความใกล้ชิดระหว่างศิลปินและแฟนคลับ ด้วยการกิน ใช้ หรือไปในสถานที่เดียวกัน 
  • ชอบบอกต่อ คือสิ่งที่ทรงพลังยิ่งกว่าการยิงแอด และอย่าลืมว่าแฟนด้อมคือ Community หนึ่ง ที่เต็มไปด้วยกลุ่มคนที่เม้ามอยชิทแชทกันตลอดเวลา เพราะคำพูดจากคนรอบตัวของเราย่อมโน้มน้าวใจได้ดีกว่าการโดนโฆษณาซึ่งๆ หน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการบอกต่อนั้นมาจากคนในด้อมด้วยกันเอง

 

สุดท้ายนี้ ยังมีเทคนิคการตลาดอีกหลายรูปแบบที่สามารถนำมาใช้กับด้อมต่างๆ ได้ ซึ่งผู้ทำธุรกิจต้องไปศึกษามาว่าแบบไหนถึงจะเหมาะกับแบรนด์ของเรา แต่ไม่ว่าอย่างไร ทุกแบรนด์ต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจ มีคุณภาพ จึงจะอยู่ได้ยาวค่ะ 🥰

ขอบคุณข้อมูลจาก