Skip to content Skip to sidebar Skip to footer
เกมกาชา การตลาด การสุ่ม

เกมกาชากับการตลาด “แบบสุ่มความเค็ม เน้นความเกลือ”

เกมกาชาคืออะไร เกมกาชา (Gacha) คือเกมที่ใช้ “ระบบสุ่ม” โดยจะให้ผู้เล่นใช้เหรียญ เพชร หรืออะไรก็ตามแล้วแต่เกมนั้นจะเรียก มาใช้เพื่อกดสุ่มของ ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร อาวุธ หรือไอเท็มอื่นๆ อีกมากมาย หลักการคล้ายๆ การสอยดาวที่จะให้เราจ่าย แต่ไม่ได้การันตีว่าจะได้ของที่ต้องการ เรียกง่ายๆ ว่าเป็น เกมวัดดวงประเภทหนึ่งค่ะ  เกมกาชาไม่จำเป็นต้องมีวิธีการเล่น (Game Play) เหมือนกันทุกเกม แค่มีระบบสุ่มก็ถือเป็นเกมกาชาแล้ว ฉะนั้น บางเกมอาจเป็นแนว Open World ที่มีพื้นที่ (Map) ให้สำรวจโลกแบบมหาศาล มีเนื้อเรื่องและคัทซีนให้ดูแบบจริงจัง ในขณะที่อีกเกมอาจจะเป็นการจัดทีมสู้กันแบบดุเดือดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น Genshin Impact Cookie Run Kingdom Tower Of Fantasy Onmyoji กาชามาจากคำว่าอะไร “กาชา” มีรากศัพท์มาจากภาษาญี่ปุ่นคำว่า กาชาปอง (ガシャポン) หมายถึงตู้สุ่มของ…

Read More

PDPA Digital Marketing พรบ.คุ้มครองส่วนบุคคล

PDPA ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการทำ Digital Marketing

ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เทคโนโลยีเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-commerce) ที่หากจะเปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนเรายกตั้งแต่ตลาดนัดจตุจักรไปจนถึงช็อปแบรนด์เนมมาไว้ในโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไปอย่างสิ้นเชิง ปัจจุบันนี้ผู้คนซื้อของออนไลน์มากขึ้น ใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น ฉะนั้นแล้วสินค้าและบริการอื่นๆ ที่แม้จะไม่ได้มีการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตในแพลตฟอร์ม online shoping ก็เริ่มผันตัวมาทำการตลาดออนไลน์ หรือ Digital Marketing กันแล้ว เพื่อให้สินค้าและบริการสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นนั่นเอง และสิ่งสำคัญในที่บรรดานักธุรกิจ, เข้าของแบรนด์, แพลตฟอร์มต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตจะนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการตลาดคงจะหนีไม่พ้น ‘ข้อมูล’ PDPA คืออะไร คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มครองประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หากตนยังไม่ได้ให้ความยินยอม ฉะนั้นแล้ว หากผูัทำธุรกิจหรือนักการตลาดต้องการจะนำข้อมูลต่างๆ มาใช้เพื่อประโยชน์ในการทำ Digital Marketing ล่ะก็ ต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ PDPA เอาไว้ เพราะกระทบด้านการนำข้อมูลมาใช้เต็มๆ สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ PDPA เพิ่มเติมได้ที่ :…

Read More

PDPA Content Creator ถ่ายภาพติดคนอื่น

PDPA ส่งผลกระทบอย่างไรต่อ Content Creator

PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่เพิ่งถูกบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ขึ้นชื่อว่าเป็นกฎหมาย อาจจะฟังดูน่าสับสนและทำความเข้าใจได้ยากใช่มั้ยคะ วันนี้ซันนี่สรุปข้อมูลมาให้อ่านกันแบบที่เข้าใจได้ง่ายแสนง่าย แล้วคุณจะรู้ว่าจริงๆ แล้ว PDPAไม่ได้เข้าใจยากอย่างที่คิดเลยค่ะ Q : PDPA คืออะไร มีไว้ทำไม? A : คือกฎหมายมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนคนทั่วไป Q : ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร? A : ข้อมูลส่วนบุคคลคือ สิ่งที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมค่ะ เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรฯ, IP address หรือแม้แต่ภาพเบลอของบุคคลนั้นก็ตาม Q : ถ้าอย่างนั้นเราก็ถ่ายรูปติดหน้าคนอื่นไม่ได้ใช่มั้ย ต่อให้เบลอหน้าคนคนนั้นก็ตาม? A :…

Read More

“กัญชา” โอกาสและข้อจำกัดของ “การตลาดสายเขียว”

“กัญชา” โอกาสและข้อจำกัดของ “การตลาดสายเขียว”

“กัญชา” โอกาสใหม่ที่หลายธุรกิจกำลังจับตามอง โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่เริ่มนำกัญชามาใส่ในเมนูกันบ้างแล้ว ล่าสุด วันที่ 26 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พรรคภูมิใจไทยได้ยื่นร่าง “พรบ. กัญชา กัญชง” ต่อสภา ซึ่งหากพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ก็จะทำให้กัญชาไม่ใช่ยาเสพติดประเภท 5 อีกต่อไป แต่ก็ยังไม่สามารถใช้งานแบบ “กัญชาเสรี” ได้เช่นกัน ดังนั้น หากธุรกิจใดวางแผนจะนำกัญชามาใช้ในผลิตภัณฑ์ ควรศึกษารายละเอียดทางกฎหมายเสียก่อน ว่าหลัง “พรบ. กัญชา กัญชง” มีผลบังคับใช้ในอนาคต จะมีโอกาสและข้อจำกัดอะไรบ้าง   ข้อจำกัดในการใช้กัญชา หลัง “พรบ. กัญชา กัญชง” มีผลบังคับใช้ 1. กัญชา ไม่ใช่ยาเสพติดประเภท 5 อีกต่อไป ทั้งในส่วนของ ช่อดอก ใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น รากและเมล็ด 2. อนุญาตให้ใส่กัญชาในอาหารได้ โดยมีปริมาณสาร THC ที่สกัดจากกัญชา ไม่เกินร้อยละ…

Read More

เช็กที่มาภาพก่อนใช้ ไร้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์

เช็กที่มาภาพก่อนใช้ ไร้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์

รูปภาพดึงดูดสายตาได้ดีกว่าข้อความ รูปภาพจึงนับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการทำคอนเทนต์ออนไลน์ แต่รู้หรือไม่ว่า ภาพทุกภาพที่มาจากอินเตอร์เน็ตล้วนมีลิขสิทธิ์ ขึ้นอยู่กับเจ้าของว่าจะอนุญาตให้นำไปใช้หรือไม่ ดังนั้นก่อนจะนำรูปไปใช้ เรามาเช็กแหล่งที่มาของภาพให้ชัวร์ก่อนดีกว่า จะได้ใช้รูปอย่างถูกต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใคร ซันนี่ขอแนะนำตัวช่วยดีๆ ช่วยเช็กแหล่งที่มาของภาพ และขั้นตอนง่ายๆที่ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที เข้าเว็บไซต์ “www.tineye.com” คลิกปุ่มอัพโหลด อัพโหลดรูปภาพที่เราต้องการทราบแหล่งที่มาลงไป TinEye จะใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที ตรวจหาภาพที่ตรงกันบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เรารู้แหล่งที่มาของภาพนั้น และติดต่อขอใช้ภาพได้อย่างถูกต้อง แต่ถึงจะเป็นตัวช่วยที่ดี การตรวจสอบของ “TinEye” ก็อาจจะยังไม่ครอบคลุมรูปภาพจำนวนมหาศาลในอินเตอร์เน็ต ซันนี่จึงนำเว็บไซต์ที่ให้บริการดาวน์โหลดภาพฟรีมาฝาก สามารถเข้าไปโหลดภาพมาใช้ได้เลยฟรีๆ ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์แน่นอน www.pexels.com/th-th www.lifeofpix.com www.unsplash.com www.pixabay.com แค่นี้ก็สบายใจหายห่วง ทำคอนเทนต์ได้อย่างอิสระ พร้อมรูปภาพประกอบสวยๆ ไร้ปัญหาลิขสิทธิ์กวนใจค่า  

Read More

GDPR เรื่องยากที่นักการตลาดต้องรู้ นักธุรกิจต้องเตรียมตัว ในปี 2018

กฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ได้ประกาศใช้ไปแล้วซักพักตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2018 ที่ผ่านมา แล้วเราก็ได้รับอีเมลแจ้งการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ขององค์กรข้ามชาติใหญ่ๆ รวมถึงหลายๆองค์กรไทยใหญ่ๆหลายที่กันมาจนล้นอินบ๊อก แต่ก็กดลบเพราะยาวไม่อ่าน แต่รู้ไม่ว่าเรื่องนี้กำลังจะส่งผลกระทบในวงกว้างสำหรับธุรกิจและนักการตลาดออนไลน์ รวมไปถึงทุกคนที่กำลังคึกคักกับคำว่า Big Data GDPR คืออะไร? คือกฎหมายของสหภาพยุโรป (EU) ที่ครอบคลุมเรื่องความปลอดภัย และ สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนชาว EU ทุกคน และกฎหมายนี้ครอบโลกมากเพราะหากคุณเก็บข้อมูลเหล่านี้ในประเทศนอก EU แต่เก็บข้อมูลของประชาชนชาว EU แล้วทำผิดกฎ ก็สามารถโดนฟ้องเป็นค่าปรับไม่เกิน 20 ล้านยูโร หรือไม่เกิน 4% ของรายได้รวมทั่วโลก ได้เช่นกัน อีกทั้งบริษัทที่ไม่ปฎิบัติตามก็จะถูกกีดกันไม่ให้ทำธุรกิจกับองค์กรของ EU อีกด้วย หัวใจหลักของ GDPR สรุปแบบย่อสุดๆได้ดังนี้ อยากอ่านละเอียดเข้าไปที่ Official Website ข้อมูลที่จะเก็บต้องเก็บแค่ข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้นไม่เก็บเกินจำเป็น จะเก็บข้อมูลต้องบอกว่ากำลังเก็บข้อมูลอะไรบ้าง และขอความยินยอมก่อนเก็บ จะนำข้อมูลไปทำอะไรบ้างต้องแจ้งให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ยาวยืดเยื้อไปไม่ได้ เก็บข้อมูลต้องผ่าน…

Read More