Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

ผลิตงานตามความต้องการได้ด้วย Mass Customization

Mass Customization คืออะไร

Mass Customization คืออะไร

คือ การผลิตสินค้าในปริมาณมาก แต่สามารถจำกัดกลุ่มเฉพาะได้ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้เป็นอย่างดี

ข้อดีของ Mass Customization

  • ผลิตได้ในปริมาณเยอะ ทำให้ต้นทุนต่ำ
  • ตอบสนองของลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ดี
  • ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร และเพิ่มกระบวนการผลิตโดยใช่เหตุ
ข้อดีของ Mass Customization

Mass Customization ต่างจาก Mass Production อย่างไร

ทั้งสองรูปแบบมีความคล้ายกันตรงที่ปริมาณการผลิต สามารถผลิตได้ในจำนวนมากเพื่อลดต้นทุน 

แต่ Mass Production คือกรผลิตสินค้าซึ่งกำลังได้รับความนิยม และเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งก็เป็นเพียงการคาดเดาทิศทางของตลาดเท่านั้น จึงมีข้อเสียตรงอาจมีสินค้าค้างสต็อกมากมายที่ขายไม่ออก ทั้งยังเป็นการเพิ่มกระบวนการผลิต เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

ยกตัวอย่าง เช่น ร้านเสื้อผ้าตามห้างดังที่มักจะมีหลายสาขา และผลิตคอลเลคชั่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ เป็นการผลิตจำนวนมากต่อครั้ง และเมื่อหมดซีซั่น (Season) เสื้อผ้ารุ่นนั้นก็อาจกลายเป็น “เสื้อตกรุ่น” ทำให้ขายไม่ออก หรือต้องนำมาลดราคาในซีซั่นถัดไป เป็นต้น

 

ตัวอย่างการผลิตแบบ Mass Customization

1. Nike

รองเท้าไนกี้ให้กลุ่มลูกค้าที่สนใจส่งออเดอร์การผลิตเข้ามาได้ เพื่อผลิตรองเท้าที่มีลายพิเศษ “สำหรับบุคคลนั้นโดยเฉพาะ” 

เนื่องจากไนกี้เองก็เป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์กีฬามากมายรวมถึงรองเท้า และมีรองเท้าที่ยังไม่ได้เติมลวดลายอยู่เต็มไปหมด การนำโครงรองเท้าเปล่าเหล่านั้นมาผลิตลายตามความต้องการ จึงเป็นการยืนยันว่ารองเท้าคู่นี้ “ขายออก” อย่างแน่นอน เพราะลูกค้าเป็นผู้สั่งเข้ามาเอง

2. Web To Print

คือการปรินท์ลายตามความต้องการของลูกค้าลงไปในเทมเพลตที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันนิยมผลิตงานผ่านเว็บไซต์ โดยจะมีเทมเพลตสินค้าต่างๆ ให้เลือก เช่น หมวก, เสื้อ, รองเท้า, กระเป๋าผ้า เป็นต้น

จากนั้นให้ลูกค้าส่งลายที่ต้องการปรินท์เข้าไปในระบบ (บางเว็บไซต์มีบริการออกแบบลวดลายให้) เมื่อดำเนินการชำระเงินแล้ว ทางเว็บไซต์จะส่งสินค้าดังกล่าวมาให้เรา นับเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ 

อีกหนึ่งการผลิตแบบ Web To Print ที่ด้อม (Fandom) เกาหลีและด้อมไทยน่าจะคุ้นเคยกัน คือการผลิตการ์ดหรือพวงกุญแจน่ารักๆ โดยให้เราติดต่อไปยังผู้ผลิต (Supplier) เพื่อทำของตามลวดลายที่เราต้องการ โดยใช้เทมเพลตสินค้าเหมือนๆ กัน เพราะแบบนี้ เราจึงเห็นรูปแบบพวงกุญแจ และลายโฮโลแกรมบนการ์ดต่างๆ ดูคล้ายกันไปหมดนั่นเองค่ะ


โดยส่วนใหญ่แล้ว การผลิตแบบ Mass Customization มักจะเป็นลูกค้าเองที่ออกแบบลายมาให้แล้วสั่งผลิต แต่ก็มีหลายบริษัทเช่นกัน ที่มีบริการออกแบบลวดลายตามสั่ง

แต่ไม่ว่าอย่างไร การผลิตรูปแบบนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เพราะเป็นการผลิตตามออเดอร์ จึงเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยลดขยะ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดี อีกทั้งยังลดการเกิดปัญหาด้านต้นทุนให้กับผู้ผลิตอีกด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก