ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมต้องมีกระบวนการที่ใช้วัดผลว่างานนั้นๆ สำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ หนึ่งในกระบวนการที่เป็นที่นิยมที่สุดที่บรรดาองค์กรในปัจจุบันใช้กำหนดทิศทางและเป้าหมาย ก็คือ KPI (Key Performance Indicator) หรือที่แปลได้ว่า “ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ” นั่นเอง
ประเภทของ KPI
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
การวัดผลออกมาโดยตรงเป็นข้อเท็จจริง แสดงผลเป็นตัวเลขชัดเจนมีหลักฐานตรวจสอบได้ มาตรวัดอยู่ในระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง จำนวนสินค้า
การวัดผลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ของผู้วัดผล การประเมินขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนบุคคลของผู้วัดผลด้วยเช่นกัน มาตรวัดจะอยู่ในระดับอันตรภาค (Interval Scale) ใช้วัดสิ่งที่ไม่สามารถระบุอัตราส่วนได้ เช่น บุคคลิกภาพ ความคิด ทัศนคติ
มุมมองในการวัดผล KPI
เป็นการวัดความสำเร็จในเชิงบวก ผลลัพธ์ที่ได้เป็นแง่ดีต่อธุรกิจ เช่น ยอดขาย กำไร ความพึงพอใจของลูกค้า เป็นต้น
การวัดผลผ่านมุมมองนี้ จะต้องพยายามเพิ่มตัวเลขผลลัพธ์ให้มากขึ้น เพราะส่งผลดีต่อธุรกิจ
เป็นการวัดความสำเร็จในเชิงลบ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นแง่ลบต่อธุรกิจ เช่น อัตราการขาดทุน คำร้องเรียนผู้บริโภค ความไม่พึงพอใจของลูกค้า เป็นต้น
การวัดผลผ่านมุมมองนี้ จะต้องพยายามลดตัวเลขผลลัพธ์ให้น้อยลง เพราะเป็นข้อบกพร่อง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจ
การกำหนด KPI ในระดับต่างๆ
การกำหนดเป้าหมายหลักขององค์กร ครอบคลุมการทำงานทุกอย่างภายในองค์กร เป็นแนวทางที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติงานให้สอดคล้องกัน และมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน
การกำหนดเป้าหมายย่อยของแต่ละหน่วยงานในองค์กร ซึ่งแต่ละหน่วยงานอาจมีเป้าหมายต่างกัน แต่เป้าหมายของทุกหน่วยงานต้องสอดคล้องและเป็นไปเพื่อตอบสนองเป้าหมายหลักขององค์กร
การกำหนดเป้าหมายรายบุคคล เพื่อให้การทำงานของพนักงานแต่ละคนสอดคล้องกับเป้าหมายระดับหน่วยงาน และเป้าหมายระดับองค์กร และยังเป็นการวัดประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคล เพื่อพิจารณาปรับเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งอีกด้วย
ตัวชี้วัดรองนี้อาจไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง แต่อาจใช้พิจารณาประกอบได้ สำหรับการทำงานของหน่วยงานที่ไม่อาจประเมินค่าผลลัพธ์เป็นตัวเลขได้ชัดเจน เช่น หน่วยงานด้านบริการ หน่วยงานสนันสนุน หรือเป้าหมายที่ประเมินค่าในเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า เป็นต้น
การกำหนด KPI ด้วยหลัก SMART
หลักการ SMART เป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้ตั้งเป้าหมายที่วัดผลได้ หลัก SMART ประกอบด้วย
ระบุชัดเจนว่าจะทำอะไร ต้องการผลลัพธ์อย่างไร อย่ากำหนดขอบเขตกว้างจนเกินไป เพราะอาจทำให้การวัดผลไม่มีประสิทธิภาพ
เป้าหมายควรจะวัดผลในเชิงสถิติออกมาเป็นตัวเลขได้ ทำให้ข้อมูลที่ได้นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงได้ง่ายกว่า
เป้าหมายต้องบรรลุผลได้จริง ไม่ยากเกินไปหรือง่ายเกินไป
เป้าหมายต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ สมเหตุสมผล คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงว่าเป้าหมายนั้นสามารถบรรลุผลได้หรือไม่
มีกรอบเวลาการทำงานที่ชัดเจน เพื่อกำหนดระยะเวลาที่จะนำมาใช้วัดผล และเป็นแรงกระตุ้นในการทำงาน
การกำหนด KPI ทำให้เรามีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน เรียงลำดับความสำคัญของงานได้ สามารถเลือกทำงานที่ตอบสนองเป้าหมายที่วางเอาไว้ และไม่เสียเวลาทำงานที่ไม่พาเราไปถึงเป้าหมาย
นอกจากนี้ KPI ยังเป็นเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินผลประสิทธิภาพการทำงานว่าบรรลุผลที่ตั้งไว้หรือไม่ และค้นหาข้อบกพร่อง เพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
SUNNYSIDEUP STUDIO