คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจในทุกกระบวนการ ไม่ว่าจะทั้งการทำงานในองค์กรไปจนถึงการบริการลูกค้า
เห็นได้ชัดจากช่วง 10 ถึง 20 ปีก่อน ที่โลกเราเริ่มเปลี่ยนจากยุคอนาล็อกมาสู่ยุคดิจิทัล แต่ในปัจจุบันหลายบริษัทก็ยังต้องปรับตัวอยู่เสมอ โดยใช้กลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ มากมาย ดังที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้
คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงยุทธ์ พูดง่ายๆ หรือการพัฒนาองค์กรโดยให้ความสำคัญกับ “บุคคล” ซึ่งฝ่ายที่จะเข้ามาจัดการงานตรงนี้ได้นั้น คือผู้บริหารและฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) นั่นเอง
การพัฒนาบุคลากรในบริษัทด้วยวิธี Digital Transformation สามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ได้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น
คือการแทรกซึมความเป็นดิจิทัลเข้ามาในองค์กร ด้วยการวางรากฐานและสร้างความเคยชิน เพื่อให้ทั้งองค์กร, บุคคลกร และผู้บริโภค พร้อมที่จะปรับตัวเข้าสู่โลกยุคใหม่ได้ เช่น
ในด้านการทำงานจากทุกที่ (Remote Work) นั้น มีผลดีคือ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น, ลดเวลาในการเดินทาง และด้านอื่นอีกมากมาย
แต่ก็ต้องปรับใช้ร่วมกับข้อแรก (Strategic Alignment) กล่าวคือ ต้องทำให้การทำงานได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าการมาทำงานที่บริษัท โดยอาจใช้การประเมิน และการวัดผลสำเร็จของงานเป็นตัวชี้วัด
การเข้าใจระบบทั้งหมดในการทำงาน จะทำให้สามารถมองเห็นภาพรวม และเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ได้ ว่าจะปรับส่วนใดให้เข้ากับความเป็นดิจิทัลได้บ้าง เช่น
“การวางแผน” จะช่วยให้การทำงานและการพัฒนาองค์กรเป็นไปได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งทำให้มองเห็นข้อผิดพลาดได้ง่าย ช่วยให้แก้ไขได้ทันเวลา โดยอาจกำหนดหัวข้อไว้คร่าวๆ เช่น
ดำเนินการตามแผน (Road Map) ที่ได้วางไว้ โดยค่อยๆ ทำไปทีละข้อโดยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา ไม่ว่าจะการวางรากฐานเพื่อสร้างวัฒนธรรม หรือการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยปรับเปลี่ยนไปทีละอย่าง เช่น
เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจถึงเวลาต้องหาตัวช่วย ด้วยการหาพาร์ทเนอร์ที่เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ มาทำให้แผนงานของเราดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจใช้หลักเกณฑ์เหล่านี้ในการคัดเลือก เพื่อหาตัวช่วยที่เหมาะสมกับการพัฒนาองค์กร เช่น
วิเคราะห์และตกตะกอนทุกขั้นตอนที่ได้ลองทำ ว่ามีสิ่งใดเหมาะสม ทำแล้วได้ผลดี และสิ่งใดควรต้องหยุด เพราะอาจไม่ใช่ทุกแผนที่วางเอาไว้จะสามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีในตอนนี้อาจไม่เหมาะกับการทำงานของเราในอีก 5 ปีข้างหน้า
เท่ากับว่า เราอาจต้องนำขั้นตอนตั้งแต่ข้อแรกมาใช้ซ้ำๆ โดยคงไว้ซึ่งขั้นตอน แต่ปรับเป้าหมายและบางวิธีการให้เป็นไปตามยุคสมัย เพราะไม่มีทางที่โลกจะหยุดพัฒนา เช่นเดียวกับองค์กรของเรา
ยี่สิบปีก่อนคำว่า “โลกดิจิทัล” อาจฟังดูห่างไกล ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์, การทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การใช้สมาร์ทโฟนก็ดูเป็นอะไรที่คนในยุคนั้นอาจจะนึกภาพไม่ออก (ซึ่งนั่นก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ Y2K เช่นกันค่ะ)
นั่นจึงเป็นหมุดหมายที่ทำให้เราต้องพึงระลึกเอาไว้อยู่เสมอ ว่าการเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการทำงานของเรา
ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะผู้บริหาร, ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล หรือแม้แต่ตัวพนักงานเอง จึงต้องพร้อมเรียนรู้และปรับตัวตลอดเวลา เพื่อพัฒนาให้ตนเองและองค์กรเติบโตขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก
SUNNYSIDEUP STUDIO