นับจากสถานการณ์โควิด 19 เป็นต้นมา ตลาดสินค้าออนไลน์ก็คึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม E- Commerce วิดีโอสตรีมมิ่ง ภาพยนตร์สตรีมมิ่ง และแน่นอนว่าหนึ่งในนั้นก็คือ “เกมออนไลน์” นั่นเอง
ตลาดเกมออนไลน์กำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ นับว่าเป็นโอกาสอีกช่องทางหนึ่งสำหรับนักการตลาดและผู้ประกอบการ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้คลุกคลีอยู่ในวงการเกมมากนัก เกมออนไลน์อาจมีความซับซ้อน ยากต่อความเข้าใจ แต่หากทำความเข้าใจรายละเอียดของเกมออนไลน์ ก็อาจเข้าถึงโอกาสที่มาพร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเกมได้
เกมที่ต้องเล่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ส่วนมากจะเป็นเกมประเภท MMO (Massive Multi Player) รองรับผู้เล่นหลายคนในแต่ละเซิร์ฟเวอร์ ทำให้นอกจากการทำภารกิจที่กำหนดในเกมแล้ว เกมยังเป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์อีกด้วย
เกมบางเกมสามารถเล่นผ่านหลายอุปกรณ์ ส่วนมากจะเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ และเล่นผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย โดยในปัจจุบันผู้เล่นเกมนิยมเล่น Mobile Game ผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด เนื่องจากสามารถเล่นได้ผ่านโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียว ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ
นอกจากการเล่นเพื่อความบันเทิง เกมยังได้รับการต่อยอดไปสู่กีฬา E-Sport ทำให้เกิดโอกาสและอาชีพใหม่ๆ มากมาย เช่น นักกีฬา E-Sport นักแคสต์เกม เกมสตรีมเมอร์ เป็นต้น
เกมที่นิยมในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
เป็นเกมประเภทสวมบทบาทเป็นตัวละครต่างๆ มีเนื้อเรื่องและภารกิจมาให้ทำเพื่อเพิ่มระดับเลเวล โดยเกมประเภท RPG ที่นิยมมักจะเป็นแนว MMORPG (Massive Multiplayer Online Role-Playing Game) ที่สามารถเล่นร่วมกับคนอื่นๆ ได้ แต่ละคนเลือกบทบาทต่างกันไป และเล่นกันเป็นกลุ่ม ทำให้เกิดสังคมในเกมขึ้นมา
เกมแนว RPG ที่เป็นที่นิยม เช่น
เกมที่มีการนำไปแข่งขันกันเหมือนกีฬา ผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ มีกติกา การฝึกซ้อม และมีการวางแผนกลยุทธ์เป็นทีมเหมือนการแข่งกีฬาจริงๆ
เกมที่นิยมนำมาแข่งขัน E-Sport มี 2 ประเภท ได้แก่
ผสมผสานระหว่างการวางแผนทำงานเป็นทีม และการต่อสู้แบบแอ็คชั่น เกม MOBA ที่นำมาแข่งขัน เช่น DotA 2, League of Legends (LOL), Realm of Valor (ROV) เป็นต้น
เกมยิงปืนจากมุมมองของบุคคลที่ 1 เกมประเภทนี้จำกัดการมองเห็น ผู้เล่นจะไม่สามารถมองเห็นด้านหลังของตนเองได้ ทำให้มีความสนุกตื่นเต้นเป็นพิเศษ เกม FPS ที่นิยมนำมาแข่งขัน เช่น Counter Strike, Rainbox Six Seige, Call of Duty : Warzone เป็นต้น
SCB EIC คาดการณ์ว่า จำนวนผู้เล่นเกมทั่วโลกจะสูงถึง 2.5 พันล้านคน หรือราว 1 ใน 3 ของประชากรโลก ภายในปี 2023 โดยรายได้ของอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทยในปี 2022 อยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท
จะเห็นได้ว่า ช่วงอายุของผู้ที่เล่นเกมออนไลน์ส่วนใหญ่ไม่ใช่เด็ก แต่เป็นกลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงานหรือ First Jobber ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของสินค้าหลายประเภท การทำความเข้าใจเกมออนไลน์ จึงอาจเป็นโอกาสใหม่ในการเข้าถึงลูกค้าของหลายๆ แบรนด์
ในทุกๆ ปี อุตสาหกรรมเกมออนไลน์เติบโตแบบ Double Digit หรือเติบโตมากกว่า 10% นับว่าเป็นช่องทางที่น่าลงทุนไม่น้อย โดย SCB EIC เปิดเผยว่า การโฆษณาในธุรกิจเกม สามารถทำได้ 3 ช่องทางหลักๆ คือ
ทั้งนี้ การทำการตลาดผ่านเกมออนไลน์ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น กลุ่มผู้บริโภคสินค้าของแบรนด์ เป็นกลุ่มเดียวกับที่เล่นเกมนั้นๆ หรือไม่ หรือกลุ่มลูกค้าของเกม มีความสนใจสินค้าของเราหรือไม่ รวมถึงต้องมีความเข้าใจความธรรมชาติของเกม และใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมเกมพอสมควร จึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ได้อย่างเต็มที่
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :
SUNNYSIDEUP STUDIO